คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ไม่มีธงสีรุ้งในดินแดนที่ถูกจองจำ

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังโบกสะบัดธงสีรุ้ง แต่ยังมีดินแดนที่ธงแห่งความหลากหลายพัดไปไม่ถึง

มิถุนายนของทุกปี เป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความงดงามของความหลากหลายทางเพศที่กว่าจะมีวันนี้ก็ต้องผ่านการต่อสู้ และเจ็บปวดจากการถูกเลือกปฏิบัติ ถูกกดขี่ และลิดรอนสิทธิของความเป็นมนุษย์ เป็นเดือนที่เราจะได้โบกสะบัดพัดธงสีรุ้ง และผลักดันเรื่องความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงในสังคม มองไปทางไหนก็เห็นสัญลักษณ์ของธงสีรุ้งทั่วเมือง ไปจนถึงการจัดกิจกรรมที่มีความยิ่งใหญ่อย่างบางกอกไพรด์เฟสติวัล ที่มีมาแล้ว 3 ปี เพื่อร่วมเชิญชวนให้ทุกคนแสดงความเป็นตัวเองได้อย่างภาคภูมิใจ และประเทศไทยเองก็อยากเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนเรื่องนี้ด้วย

แต่ทุกคนรู้ไหมว่า ในขณะที่ธงรุ้งขึ้นทั่วเมือง ยังมีสถานที่แห่งหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่จองจำเสรีภาพ ที่ปลายธงรุ้งไม่เคยถูกสะบัดพัดไปถึง และความหลากหลายทางเพศแทบไม่เคยเกิดขึ้นในที่แห่งนี้เลย สถานที่นี้มีชื่อว่า “เรือนจำ” พื้นที่ที่ได้ชื่อว่าเป็นเขตจำกัดของเสรีภาพ และมีไว้เพื่อควบคุมความประพฤติของนักโทษคดีต่างๆ หรือความหมายตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560

“เรือนจำ” หมายความว่า ที่ซึ่งใช้ควบคุม ขัง หรือจำคุกผู้ต้องขังกับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และให้หมายความรวมถึงที่อื่นใด ซึ่งรัฐมนตรีได้กำหนดและประกาศในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้

แต่ใครเคยจินตนาการถึงความเท่าเทียม และสิทธิของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศเมื่อต้องเดินทางเข้าสู่อาณาเขตนี้ออกบ้าง ว่าพวกเขาอยู่กันอย่างไร?

เมื่อไม่นานมานี้มีนักโทษที่เป็นสาวประเภทสอง และ Lgbtqian+ ที่ต้องเดินทางเข้าสู่ดินแดนแห่งนี้ และได้เปิดเผยเรื่องราวความเป็นอยู่ข้างในผ่านข้อมูลจากบันทึกเยี่ยมผู้ต้องขังโดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนหนึ่งในนั้นคือ “นารา” อนิวัต ประทุมถิ่น ซึ่งถูกคุมขังในคดีมาตรา 112 อยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เกี่ยวกับสิทธิ และการถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศในกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในเรือนจำ เราจะพบถึงความเจ็บปวดของการไม่มีพื้นที่ที่ทำให้มีตัวตน และการไม่ถูกยอมรับในอัตลักษณ์ที่เธอเป็นไม่ว่าจะเป็น

1.แม้ว่าสรีระจะเห็นได้ชัดอย่างไม่ต้องสงสัยว่าเธอมีหน้าอกเหมือนผู้หญิง แต่ในช่วงแรกที่ต้องเข้าเรือนจำ ก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ใส่ชุดชั้นใน โดยมีแค่เสื้อบางๆ เช่นเดียวกับนักโทษชายคนอื่น ที่ได้สวมใส่ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ทั้งจากสายตา และยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกคุกคามทางเพศได้อีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้ต้องใช้เวลาต่อสู้จนถึงปลายปี 2566 เธอถึงจะได้รับการอนุญาตให้ใส่เสื้อชั้นในได้ เนื่องจากเรื่องนี้ถูกเผยแพร่ และมีการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมภายนอกด้วยจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นได้

2.สิทธิการเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาวะอนามัยของหญิงข้ามเพศ ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เทคฮอร์โมน (โดยมาตรการของทางเรือนจำในปัจจุบันจะสงวนให้เฉพาะผู้แปลงเพศแล้ว และมีใบรับรองแพทย์เท่านั้น) แต่เนื่องจากเรื่องนี้ไม่ได้จำเป็นเฉพาะคนที่ผ่าตัดแปลงเพศแล้วเท่านั้น ในผู้ที่มีการเทคฮอร์โมนมาอย่างต่อเนื่องก็สำคัญต่อสุขภาพเช่นกัน ซึ่งจากคำบอกเล่าของนารา พบว่าเมื่อเธอไม่ได้รับการเทคฮอร์โมนก็มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายอย่างเกิดขึ้น เช่น การมีขนขึ้น ผิวพรรณที่เปลี่ยนไป ซึ่งการมองเห็นร่างกายที่เปลี่ยนแปลงนี้ค่อนข้างมีผลกระทบกับจิตใจของเธอเองด้วย รวมไปถึงการแปรปรวนของอารมณ์จากผลข้างเคียงของการขาดฮอร์โมน เมื่อเรื่องนี้ถูกเผยแพร่ออกไปจนเกิดการตั้งคำถามถึงการดูแลนักโทษของเรือนจำแห่งนี้ ทำให้นาราได้รับการเข้าประเมิน และกลับมาได้รับการเทคฮอร์โมนเหมือนเดิม แต่กรณีนี้ยังเกิดเฉพาะผู้หญิงข้ามเพศที่มีรูปร่างคล้ายผู้หญิงเท่านั้น ส่วนคนอื่นๆที่ไม่ได้มีรูปร่างที่เหมือนผู้หญิง ก็ยังไม่ได้รับสิทธิการเข้าถึงการรับบริการทางการแพทย์นี้ แม้ว่าจะมีความจำเป็นก็ตาม

3.การถูกตัดผม จริงอยู่ที่กฎระเบียบของเรือนจำนักโทษชายจะต้องมีการตัดผมสั้นเกรียนแล้วนักโทษ Lgbtqian+ ล่ะอย่างนาราที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่ชัดเจน ก็ยังต้องถูกบังคับให้ตัดผมสั้นเหมือนนักโทษชายคนอื่น ซึ่งทำให้เธอรู้สึกอับอาย และเสียใจกับสิ่งนี้ เพราะเส้นผมสำหรับเธอแล้วเป็นสิ่งที่ทำให้เธอรู้สึกยังคงเป็นตัวเองได้มากที่สุด แต่ภายในเรือนจำยังมีอภิสิทธิ์ชนที่สามารถไว้ผมยาวกว่ากรณีของเธอได้ หรือเรือนจำที่อื่น มีการอนุญาตให้ไว้ผมยาวประบ่าได้ ซึ่งคงจะดีกว่านี้หากมีการใช้มาตรการเดียวกันในเรื่องกฎระเบียบทรงผมที่เคารพความเป็นมนุษย์

4.การเปลือยกาย แน่นอนว่าเมื่อต้องมีสถานะเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำ จะต้องมีการตรวจร่างกายโดยปราศจากการสวมใส่เสื้อผ้าซึ่งเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยสำหรับคนทุกเพศอยู่แล้ว แต่สิ่งนี้อาจไม่ใช่ความสบายใจสำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เพราะต้องเปลื้องผ้ารวมกับผู้ชาย ไปจนถึงความเป็นอยู่ทั่วไป เช่น การอาบน้ำ ก็ดูจะเป็นเรื่องยาก เพราะระบบข้างในเป็นการอาบน้ำ “รวม” ในขณะที่ต้องอยู่ท่ามกลางร่างเปลือยของผู้ชาย และการที่ไม่สามารถอาบน้ำด้วยสรีระผู้หญิงของเธอได้ เรื่องนี้สร้างความเจ็บปวด และอับอายให้กับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะสาวประเภทสอง หรือผู้หญิงข้ามเพศเป็นอย่างมาก ทำให้เธอต้องหาวิธีอาบน้ำด้วยหลายวิธีเพื่อให้รู้สึกปลอดภัยมากที่สุด

แน่นอนว่ามีเพียงเรือนจำบางแห่งเท่านั้น ที่มีพื้นที่หรือมีการจัดการดูแลกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างเหมาะสม ซึ่งหากมองเรื่องสิทธิหรือการเลือกปฏิบัติแล้ว จริงอยู่ที่ผู้ต้องขังต้องได้รับโทษทั้งการจำกัดอิสรภาพตามกฎหมาย และต้องทำตามกฎอย่างเคร่งครัดของเรือนจำ แต่จะดีกว่านี้ไหม ถ้ามีการปรับปรุงกฎของเรือนจำให้เป็นมาตรฐานที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังอย่างเท่าเทียม และไม่ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกเพศ รวมทั้งยกระดับของการเข้าถึงการรับบริการทางการแพทย์ที่เหมาะกับเพศสภาพของคนในเรือนจำ สร้างความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ ผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ และผู้ต้องขังคนอื่นๆ เพื่อให้ดินแดนที่จำกัดเสรีภาพนี้ มีพื้นที่ที่ทุกคนที่อยู่ร่วมกันได้บนความหลากหลายที่แท้จริง

Let’s celebrate pride month together แต่อย่าลืมคนในเรือนจำที่กำลังถูกลิดรอนสิทธิของความหลากหลายทางเพศด้วย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

ลลิลลนา จันทร์ดง

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : อัปเดตประชุมวิชาการโลกเรื่องคอร์รัปชัน

เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค Co-Founder บริษัท HAND Social Enterprise ได้รับเชิญไปบรรยายในงานประชุมทางวิชาการ Cambridge Economic Crime ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 40 แล้ว ซึ่งงานนี้ถือได้ว่าเป็นงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชันที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่ง โดยผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ได้เข้าร่วมบรรยายเกี่ยวกับผลงานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพที่แท้จริงของความโปร่งใสในการต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านการศึกษาผลกระทบจากโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency: CoST)

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : อยากแก้ปัญหาปากท้องก่อน แต่ถ้าไม่ปฏิรูปตำรวจ ก็แก้ยาก !

ซับซ้อน ซ่อนเงื่อน มืดเทา อาจเป็นคำนิยามวงการตำรวจไทยในปัจจุบัน ? หากเราพูดถึงวงการตำรวจ หลาย ๆ คนคงจะนึกถึงเรื่องที่ตำรวจดันไปเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับการทุจริต ไม่ว่าจะเป็นกรณีหมูเถื่อน กำนันนก ทุนจีนสีเทา หรือข่าวอาชญากรรมต่าง ๆ แทนที่จะมองว่า ตำรวจคือผู้ที่รักษาความสงบให้บ้านเมือง และคุ้มครองประชาชนให้รู้สึกปลอดภัย

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : สติ๊กเกอร์ส่วย…แก้ได้ ?

จะแก้ปัญหาอย่างไรให้ชีวิตปลอดภัยจากผลกระทบของสินบน ? ประเด็นร้อนทุจริตเร็ว ๆ นี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง “ส่วยสติกเกอร์” หลังว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ออกมาแฉตั้งแต่กลไกไปจนถึงราคาอย่างที่หลายคนคงได้ยินมาบ้างแล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้น รู้หรือไม่ว่าเรื่องของส่วยรถบรรทุกที่ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว จริง ๆ แล้วใกล้ตัวกว่าที่เราคิด

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้