บทความวิจัย : ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทย ในระยะเปลี่ยนผ่าน

ทำความเข้าใจทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองในการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า ประชาชนเห็นชอบต่อการจัดตั้งรัฐบาลทหารเพื่อปฏิรูปประเทศ ขณะที่พรรคการเมืองเชื่อว่าพลังในการปฏิรูปมาจากประชาชน

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน (2) ทัศนคติของประชาชนจําแนกตามภูมิหลังประชากร (3) พลังอํานาจของชาติที่สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย และ (4) ความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทยของประชาชนและพรรคการเมือง  

งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณมีกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากร รวม 6 ภูมิภาค คํานวณหาขนาดจํานวนกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่  โดยประมาณด้วยความเชื่อมั่น 95% และความคลาดเคลื่อน 5% ได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง 1,100 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้แบบสอบถาม โดยหาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการวิจัย ใช้การวิเคราะห์ความแปรปวน ค่า t-test  ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เจาะลึก หัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้แทนพรรค จํานวน 8-10 พรรค  

จากการศึกษาความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทย พบว่า ประชาชนคาดหวังให้ได้นักการเมืองที่ดี มีคุณธรรม ไม่ทุจริตคอร์รัปชัน การเมืองไทยดีและเศรษฐกิจเจริญขึ้น ส่วนพรรคการเมืองส่วนใหญ่คาดหวังให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดจริงจัง รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

ในประเด็นพลังอํานาจของชาติที่สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย โดยภาพรวม ประชาชนคิดเห็นว่า พลังอํานาจที่สนับสนุนการปฏิรูปสูงสุดคือ พลังอำนาจทางทหาร รองลงมาคือ พลังอํานาจทางสังคม และพลังอํานาจทางการเมืองตามลําดับ ส่วนพรรคการเมืองมีความเห็นว่าพลังอํานาจที่สําคัญแท้จริงต้องมาจากประชาชน หรือพลังอํานาจทางสังคม

ต่อมา ในประเด็นทัศนคติต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน พบว่า ประชาชนมีทัศนคติเชิงบวกต่อการการจัดตั้งรัฐบาลทหาร เพื่อปฏิรูปประเทศไทยและการปฏิรูปประเทศไทยในด้านต่าง ๆ แตกต่างจากพรรคการเมืองส่วนใหญ่มีทัศนคติเชิงลบ หรือไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งรัฐบาลทหาร

สุดท้าย ในประเด็นความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทยพบว่า โดยภาพรวม ประชาชนเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ให้มีการปฏิรูปการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ส่วนพรรคการเมืองส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสากลและสร้างความปรองดอง รวมทั้งปฏิรูปให้บังคับใช้กฎหมายปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

โรจน์ พิมานมาศสุริยา. (2560). ทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทย ในระยะเปลี่ยนผ่าน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 15(2), 3344.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง

วิโรจน์ พิมานมาศสุริยา

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้