บทความวิจัย : กระบวนการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา

การศึกษาสาเหตุและกระบวนการของการเกิดการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา

 

การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสาเหตุการทุจริตเกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนา และกระบวนการขั้นตอนดำเนินการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา เนื่องจากปัญหาในเรื่องวิกฤตศรัทธาของพระภิกษุสงฆ์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การใช้งบไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง กลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างรัฐกับศาสนา กลายเป็นประเด็นถกเถียงและยังหาบทสรุปร่วมกันไม่ได้ จนเป็นปัญหาไปทั่วประเทศต่อการบริหารเงินวัด เงินพระศาสนา รวมไปถึงเงินผลประโยชน์ประเภทต่าง ๆ  

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล โดยมีผู้ให้ข้อมูลดังนี้ 

1) ภาครัฐ ได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ผู้บริหารกองธรรมสนามหลวง ผู้บริหารกองบาลีสนามหลวง ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนธรรมบาลี ในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 10 จำนวน 30 คน

 2) ภาคประชาชนและภาคเอกชน ได้แก่ ผู้สื่อข่าว ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชนที่เกี่ยวข้องภายในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 10 จำนวน 15 คน  

3) นักวิชาการ คณาจารย์/ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ จำนวน 5 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นรายบุคคล 

ผลการวิจัย พบว่า การทุจริตเกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนาเป็นการทุจริตแบบระบบอุปถัมภ์ และความสมประโยชน์ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทุจริต คือ ความต้องการทางเศรษฐกิจ ตำแหน่งหน้าที่เอื้ออำนวย และมีช่องโอกาส และจากการศึกษากระบวนการขั้นตอนดำเนินการทุจริตในวงการพระพุทธศาสนา พบว่า เกิดจากความบกพร่องในทางปฏิบัติของระเบียบที่เกี่ยวข้องของระบบควบคุมงาน ความบกพร่องของการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ความบกพร่องของการตรวจสอบเงิน และวัดโดยส่วนมากยังไม่มีโครงสร้างในการบริหารการเงินของวัดไว้อย่างเป็นระบบ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรกำหนดให้วัดได้มีการจัดทำรายทางการเงินเป็นประจำทุกปี และนำส่งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นผู้รวบรวม โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นประจำ

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

แสงเฉวก อ., โพธิวรรณ์ ป., & ผลเจริญ ว. (2020). THE PROCESS OF CORRUPTION IN BUDDHIST CIRCLES. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 5989–6000.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • อาทิตย์ แสงเฉวก 
  • ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ 
  • วินัย ผลเจริญ
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน

ศึกษาระบบการตรวจสอบการเงิน การคลัง บัญชี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีกรณีศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลําพูน เชียงใหม่ และเเม่ฮ่องสอน

การปฏิรูประบบงบประมาณเพื่อเพิ่มความโปร่งใสให้กับการดำเนินนโยบายกึ่งการคลัง

ศึกษาถึงวิธีการจัดทำงบประมาณ และระบบรายงานข้อมูลทางการเงินการคลังของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงวิธีการจัดทำงบประมาณของปไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้