บทความวิจัย | ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ: ศึกษาศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การศึกษายุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินยุทธศาสตร์ คือ ปัจจัยด้านกฎหมายและปัจจัยด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจของศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากรผู้ให้ข้อมูล จำนวน 10 คนคัดสรรจากผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการสอบ ฝ่ายอำนวยการสอบ และนักเรียนนายสิบตำรวจ

  

ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้ (1) กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ดี ช่วยป้องปรามการทุจริต จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและปิดช่องโหว่การทุจริตการสอบ (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการสอบอย่างเข้มข้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบและป้องกันการทุจริตได้ สำหรับข้อเสนอแนะคือ ควรเสริมสร้างกฎหมายให้เข้มงวดขึ้น บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรู้เท่าทันกลอุบายในการโกง

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อรุญ กันพร้อม. (2560). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการสอบเข้ารับราชการตำรวจ: ศึกษาศูนย์ฝึกอบรม ตำรวจภูธรภาค 7 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1902-1913.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง

อรุญ กันพร้อม

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรณีศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด

รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ศึกษารูปแบบและปัจจัยเสี่ยงของการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขหรือกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รูปแบบการทุจริตและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประกอบด้วย ปัจจัยภายในคือการขาดความสุจริตในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และปัจจัยภายนอก เช่น รายได้ที่ไม่เพียงพอ ระบบอุปถัมภ์ การขาดการกำกับดูแลที่ดี และอิทธิพลของนักการเมือง

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!