บทความวิจัย | บทบาทของพนักงานอัยการกับการตรวจสอบในกระบวนการยุติธรรม: ศึกษาเฉพาะการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

จากการศึกษาเสนอว่าควรแก้ไขกฎหมาย ให้คณะกรรมการป.ป.ช.ดําเนินการไต่สวนร่วมกับอัยการสูงสุด และให้อัยการสูงสุดมีอิสระในการใช้ดุลพินิจเพียงองค์กรเดียวในการสั่งคดีโดยมีคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้มีอํานาจตรวจสอบถ่วงดุลอํานาจ เพื่อยกระดับการดำเนินคดีอาญาในนักการเมือง 

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด วัตถุประสงค์ และหลักเกณฑ์ของการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2) ศึกษาแนวคิด วัตถุประสงค์ และหลักการเกี่ยวกับบทบาทการตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการของไทยและต่างประเทศ 3) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการทำสำนวนคดีระหว่างอัยการสูงสุดและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ 4) แก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  

 

ศึกษาด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ ข้อมูลจากตำราและคำอธิบายต่าง ๆ หมายเหตุท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง  

 

ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีขึ้นเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้มีประสิทธิภาพจึงกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงและส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันเป็นหลักการดำเนินคดีตามกฎหมาย 2) บทบาทการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการตามหลักสากลรวมทั้งในประเทศไทยเป็นหลักการดำเนินคดีอาญาตามดุลพินิจที่พนักงานอัยการสามารถจะกลั่นกรองคดีอาญาก่อนขึ้นสู่ศาล 3) กฎหมายกำหนดให้อัยการสูงสุดฟ้องคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นหลัก แต่อัยการสูงสุดไม่มีอำนาจไต่สวนและไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งคดี และ 4) ให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยให้อัยการสูงสุดเข้ามามีส่วนร่วมในการไต่สวนกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งแต่เริ่มกระบวนการไต่สวน และสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาสั่งคดีตามฐานความผิดที่เห็นสมควร โดยมีคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำหน้าที่ไต่สวนร่วมกับอัยการสูงสุดตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ศรากร สวัสดิ์มงคล. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 4(2), 109-120.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง

ศรากร สวัสดิ์มงคล 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่องการตรวจสอบทรัพย์สินเจ้าหน้าที่รัฐ : บทเรียนจาก 3 ชาติ

ความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน KRAC จึงอยากชวนมาดูกลไกการตรวจสอบทรัพย์สินของสหรัฐฯ จอร์เจีย และฮ่องกง พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 4 แนวทางปลดล็อก “ผู้แจ้งเบาะแส” สู่สังคมที่โปร่งใส

กลไกการแจ้งเบาะแส (Whistleblowing)” คือ หนึ่งในกลไกสำคัญในการต่อต้านการทุจริตโดยมี “ผู้แจ้งเบาะแส” เป็นกุญแจสำคัญ แต่ความเป็นจริงแล้วการสนับสนุนให้คนเข้ามาแจ้งเหตุเป็นเรื่องยากมาก จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ถ้าสื่อไทยมีเสรีภาพมากขึ้น จะช่วยลดการคอร์รัปชันได้หรือไม่ ?

สื่อมวลชนไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่การรายงานข่าว แต่ยังสามารถร่วมแก้ไขปัญหาสังคมและปัญหาการคอร์รัปชันผ่านการเปิดโปงการกระทำผิดของหน่วยงานรัฐได้ ร่วมหาคำตอบว่าเสรีภาพสื่อมวลชนไทยส่งผลต่อระดับคอร์รัปชันในสังคมไทยอย่างไร