ระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน

ศึกษาระบบการตรวจสอบการเงิน การคลัง บัญชี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีกรณีศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลําพูน เชียงใหม่ และเเม่ฮ่องสอน

ด้วยบทบาทหน้าที่ของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ทำหน้าที่ตรวจสอบระบบการเงิน การคลัง บัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกรูปแบบ คณะผู้วิจัย จึงสนใจที่จะศึกษาระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ และกระบวนการตรวจสอบของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินในการตรวจสอบในแต่ละพื้นที่ เพื่อนำมาถอดบทเรียนในรูปแบบ Best Practice ของทั้งสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (ในฐานะผู้ตรวจ) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในฐานะผู้รับตรวจ) เพื่อวิเคราะห์หารูปแบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ ที่ดี และมีความเหมาะสมต่อแนวคิดการกระจายอํานาจสู่ท้องถิ่นต่อไป โดยมีกรณีศึกษา คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลําพูน เชียงใหม่ และเเม่ฮ่องสอน 

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษา พบว่าเสียงสะท้อนจากผู้ตรวจ (สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน) ที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการตรวจสอบ พบปัญหาหลักที่เกิดจากตัวผู้ตรวจสอบเอง เช่น อัตรากําลังคนไม่เพียงพอต่อจํานวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น ประสบการณ์และศักยภาพการทํางานของผู้ตรวจแต่ละท่านไม่เท่ากัน รวมถึงการถูกแทรกแซงจากฝ่ายบริหารและนักการเมือง นอกจากนี้ เกณฑ์การคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อลงตรวจ พบว่าเป็นการลงตรวจเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ที่มีวงเงินงบประมาณมาก ซึ่งส่งผลทําให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กหลุดจากการตรวจสอบในทุกปี
  • ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยความสําเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้กระบวนการตรวจสอบของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย
    1. ส่งเสริมใหเกิดกระบวนการกํากับดูแลที่ดี (Good Governance) และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน (Transparency) 
    2. ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชี และรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility)
    3. ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการปฏิบัติงานขององค์กร (Efficiency and Effectiveness of Performance) เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงระบบงานให้สะดวก รัดกุม ลดขั้นตอน ลดเวลา และค่าใช้จ่าย 
    4. มีมาตรการถ่วงดุลอํานาจ (Check and balance) ส่งเสริมให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรขององค์กรให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามลําดับความสําคัญ 
    5. ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ของการประพฤติมิชอบ หรือการทุจริตในองค์กร เพื่อลดโอกาสความร้ายเเรง และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น 
  • คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการดําเนินการตรวจสอบของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน เช่น เสนอให้แก้ไขประเด็นเกี่ยวกับแนวทางในการตรวจสอบ และควรมีการประชุมซักซ้อมความเข้าใจของผู้ตรวจ ก่อนที่จะลงหน่วยงานรับตรวจ เพื่อป้องกันการเกิด “การตรวจลําเอียง” เกิดขึ้น รวมถึงต้องการให้สำนักงานตรวจเงินเเผ่นดิน ปรับปรุงการทํางานของตนเอง จากที่เคยเน้นตรวจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มาเป็นการตรวจให้ครบทุกเรื่องขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พิทยา พานทอง และนาวิน พรมใจ. (2556). ระบบการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2556
ผู้แต่ง
  • พิทยา พานทอง
  • นาวิน พรมใจสา
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และสถานการณ์ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ รวมถึงระบบและกลไกทางสังคมต่อการจัดการ และป้องกันปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

แนวทางการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อพัฒนาชุมชนให้เป็นสังคมที่ปลอดคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนในเขตบางเขน เขตสายไหม เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนรูปแบบและช่องทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน โดยมีชุมชนเป็นหัวใจในการขับเคลื่อน

You might also like...

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น