สังคมโปร่งใสด้วยการแจ้งเบาะแส แต่ถ้าไม่ปลอดภัย…รัฐควรช่วยอย่างไร ?
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) ได้จัดวงเสวนาขึ้น ณ ศูนย์การประชุมที่กรุงปารีส ในหัวข้อ “การเปิดโปงการทุจริตและการเพิ่มขีดความสามารถผู้แจ้งเบาะแส (Unmasking Corruption, Empowering Whistleblowers)” เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2024 ได้มีการเสวนาเพื่อสำรวจบทบาทสำคัญของผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันและการรับสินบน จากกลุ่มผู้มีความรู้ด้านการต่อต้านทุจริตและคอร์รัปชันจากหลากหลายประเทศ เพื่อหาแนวทางในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันและการรับสินบนอย่างครอบคลุม
การเสวนาครั้งนี้ได้มีการสำรวจบทบาทผู้รายงานเหตุคอร์รัปชัน เพื่อเปิดเผยการทุจริตและการรับสินบน รวมถึงการส่งเสริมความซื่อสัตย์ในองค์กร ซึ่งผู้เข้าร่วมได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับความท้าทายและความเสี่ยงในการต่อต้านการติดสินบนที่พ่วงมากับการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสระหว่างการสอบสวน เช่น ความเสี่ยงของการถูกตอบโต้และเกิดความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยที่ตามมาจากการแจ้งเบาะแส
ทั้งนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญของการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริตและการรับสินบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทนานาชาติที่มีการเน้นย้ำถึงการปกป้องผู้แจ้งเบาะแส และผู้ที่เปิดเผยธุรกรรมทางการเงินหรือกิจกรรมที่ซับซ้อนและผิดกฎหมายต่าง ๆ เพื่อสร้างความปลอดภัย และการสนับสนุนให้เกิดการแจ้งเบาะแสเพิ่มมากขึ้น ผ่านการแก้ไขกลไกการสนับสนุนที่ครอบคลุมทั้งการกฎหมาย การเงิน และจิตวิทยา
นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวผ่านการนำเอา “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)” เข้ามาใช้งานในการปรับปรุงกลไกการรายงานของผู้แจ้งเบาะแส เช่น การประยุกต์ใช้ในกระบวนการรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ตลอดจนกระบวนการวิเคราะห์เพื่อสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการแจ้งเบาะแสการทุจริตและคอร์รัปชัน
ตลอดการเสวนาครั้งนี้ได้มีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของ “การขจัดอุปสรรคในการแจ้งเบาะแส” ผ่านการบรรจุกฎหมายอย่างชัดเจน หรือมอบหมายให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้แจ้งเบาะแสจะได้รับการปกป้องจากการตอบโต้ จึงมีการเรียกร้องให้มีการดำเนินการสนับสนุนจากกลไกการบังคับใช้ที่มีประสิทธิภาพและมีการเยียวยาสำหรับผู้แจ้งเบาะแสที่ถูกตอบโต้ด้วยกระบวนการต่าง ๆ
ทั้งนี้ ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรวมมือกันของสถาบันระดับชาติหลากหลายฝ่ายในการส่งเสริมการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและการต่อต้านการทุจริตในระดับโลกถึงความจำเป็นในการร่วมมือและการพูดคุยอย่างต่อเนื่องระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งกระบวนการ เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ผู้แจ้งเบาะแสต้องเผชิญ ส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบทั่วโลก
การเสวนาในครั้งนี้ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการต้อต้านคอร์รัปชันและทุจริตต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การส่งเสริมความซื่อสัตย์ในสังคมผ่านการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสที่ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญในการจัดการการแก้ไขปัญหา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้แจ้งเบาะแส เพราะ “พวกเขา” มีความสำคัญอย่างมากจากการมีส่วนร่วมในการสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อสังคม
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต
การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต
ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”
กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน