ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนากฎหมายป้องกันตัวแทนอำพราง (Nominee) เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมบริการให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย และกฎหมายป้องกันตัวแทนอําพราง (Nominee) โดยมุ่งศึกษาในห่วงโซ่อุปทานทางการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

การทําธุรกรรมของคนต่างด้าวผ่านตัวแทนในลักษณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง บุคคล หรือนิติบุคคลที่เข้าทํานิติกรรมแทนตัวการซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยอําพรางการกระทําของตัวการซึ่งไม่อาจทำนิติกรรมนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือที่เข้าใจกันในสังคมไทยว่าเป็นตัวแทนอําพราง (Nominee) 

ปัญหาตัวแทนอําพราง (Nominee) ดังกล่าวเกิดขึ้นเเพร่หลายในธุรกิจภาคบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีน ซึ่งมีแนวโน้มจะสร้างความเสียหาย และอาจนํามาซึ่งหายนะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศในระยะยาว  

งานวิจัยเรื่องนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมประเด็นสําคัญที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการของตัวแทนอําพราง (Nominee) รวมทั้งการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย และการพัฒนากฎหมายป้องกันตัวแทนอําพราง (Nominee) เพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในห่วงโซ่อุปทานทางการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต อันจะนำไปสู่การปกป้องความสามารถในการแข่งขัน ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่าประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เป็นอาชีพที่สงวนสําหรับคนไทยเท่านั้น ไม่ได้เปิดโอกาสให้คนต่างด้าวมาประกอบกิจการแข่งกับคนไทย เว้นเเต่มีการขออนุญาตก่อนตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.  2542 ด้วยเหตุนี้ จึงนําไปสู่การตั้งตัวแทนอําพราง (Nominee) ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย

  • ผลจากการศึกษา สามารถสรุปประเด็นของการกระทําตัวแทนอําพราง (Nominee) ในพื้นที่การท่องเที่ยวได้ 5 ประเด็น ดังนี้ 

    1. พบการนํานักท่องเที่ยวของประเทศตนเองเข้ามาท่องเที่ยวประเทศไทย โดยหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายเป๋นสกุลเงินไทย และตั้งตัวแทนอําพราง (Nominee) เพื่อเปิดบริษัทนําเที่ยวที่มีลักษณะกินรวบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

    2. บริษัทนําเที่ยวมีการจ้างคนต่างชาติมาเป็นมัคคุเทศก์ แต่มีคนไทยที่มีบัตรอนุญาตประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ด้วย 

    3. แม้ว่าประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวจะเป็นเจ้าของกิจการ แต่ผู้บริหารกลายเป็นผู้ให้เช่าสถานที่เเทน โดยไม่มีอำนาจต่อรอง หรือชาวต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของธุรกิจร่วมกัน

    4. การซื้อคอนโด หรือซื้อบ้าน โดยใช้การตั้งตัวแทนอําพราง (Nominee) เพื่อให้นักท่องเที่ยวประเทศตนเองเช่าพักเป็นรายวันได้

    5. สํานักงานทนายความมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการตั้งตัวแทนอําพราง (Nominee) เนื่องจากทนายความเป็นผู้มีความรู้ด้านกฎหมาย และคอยช่วยเหลือตั้งแต่กระบวนการเริ่มต้นก่อตั้งบริษัท 

  • ผลจากการศึกษา เสนอว่า ควรตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านที่รับจดทะเบียนด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อกํากับดูแลภาพรวมด้านการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ และมีการตรวจสอบการจดทะเบียนนิติบุคคลของนิติบุคคลที่มีคนต่างด้าวถือหุ้น ร้อยละ 51 ขึ้นไป กับนิติบุคคลที่มีคนไทยถือหุ้นร้อยละ 51 ขึ้นไป และควรให้มีการตรวจสอบได้ในหน่วยงานเดียว เพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันเเละเพิ่มประสิทธิภาพในการปราบปราม

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ปุ่น วิชชุไตรภพ, กนกกานต์ แก้วนุช, โชคชัย สุเวชวัฒนกูล และเกศรา สุกเพชร. (2561). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนากฏหมายป้องกันตัวแทนอำพราง (Nominee) เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในโซ่อุปทานอุตสาหกรรมบริการให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • ปุ่น วิชชุไตรภพ
  • กนกกานต์ แก้วนุช
  • โชคชัย สุเวชวัฒนกูล
  • เกศรา สุกเพชร
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!