บทความวิจัย | ความเป็นอิสระขององค์กรป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ

การศึกษาความเป็นอิสระของสำนักงาน ป.ป.ท. พบว่า สำนักงาน ป.ป.ท. ควรเป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐบาล เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระในการทำงานของกลไกการดำเนินการกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงความเป็นอิสระในการทำงานอย่างแท้จริงของกลไกการ ดำเนินการกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) และเสนอแนวทางการส่งเสริมความเป็นอิสระในการทำงานอย่างแท้จริงของกลไกดังกล่าวข้างต้น

 

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ตรง การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 41 คน ประกอบด้วย บุคลากรของสำนักงาน ป.ป.ท. ผู้ร้องเรียน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้มีส่วนในการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ป.ป.ท. บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ตัวแทนภาคประชาชน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตัวแทนภาคเอกชน และนักวิชาการ

 

ผลการวิจัย พบว่า ผู้เข้าร่วมการวิจัยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าสำนักงาน ป.ป.ท. ควรเป็นอิสระเชิงโครงสร้าง เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นอิสระในการทำงานอย่างแท้จริงของกลไกการดำเนินการกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อเปิดให้มีการปฏิรูปโครงสร้างองค์กรของสำนักงาน ป.ป.ท. เพื่อให้สำนักงาน ป.ป.ท. พ้นจากการควบคุมของรัฐบาล

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ติญทรรศน์ ประทีปพรณรงค์. (2562). ความเป็นอิสระขององค์กรป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 32(1), 28–42.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง

ติญทรรศน์ ประทีปพรณรงค์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริตอาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ทำไมบริษัทก่อสร้างไทย อาจเป็นได้แค่ผู้รับจ้างของบริษัทจีน ?

ชวนคาดการณ์การเข้ามาของจีนในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ภายใต้กฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. 2560 โดยงานวิจัยนี้พบว่า อีก 3 ปีข้างหน้าบริษัทจากจีนอาจสร้างความปั่นป่วนให้อุตสาหกรรมก่อสร้างไทยไม่น้อยทีเดียว

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | How to แก้ไข ใช้งบรัฐไม่เหลื่อมล้ำ

รัฐใช้งบประมาณเยอะขึ้น แต่ทำไมปัญหาความเหลื่อมล้ำแย่ลง ? งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการกระจายรายได้ของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางและความเกี่ยวข้องของดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาล” มีคำตอบและแนวทางแก้ไขจากงานวิจัยมาเล่าให้ฟัง