เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง? ถ้ายังนึกไม่ออก เราจะพาไปดูตัวอย่างจากต่างประเทศกันว่าพวกเค้าจัดการกับข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนร่วมจับตาการใช้งบประมาณ ต้านคอร์รัปชันกันอย่างไร!

ไอเดียต้านโกงจากต่างประเทศตัวแรกที่เราขอพาไปทำความรู้จักวันนี้ คือระบบ Open Data ในสิงคโปร์ ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรา หนึ่งเดียวในอาเซียนที่ติดอันดับประเทศที่มีความโปร่งใสลำดับต้นๆ ของโลก (อ้างอิงจาก Corruption Perception Index) ซึ่งนอกจากการจัดอันดับแล้ว สิ่งที่พิสูจน์ความสำเร็จของความโปร่งใสในการบริหารจัดการของประเทศสิงคโปร์ก็คือความเจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การขนส่งสาธารณะ เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน ฯลฯ

รัฐบาลสิงคโปร์ต้องการใช้ Open Data มาช่วยบริหารจัดการนโยบายต่างๆ ให้สิงคโปร์กลายเป็น Smart Nation ซึ่งคล้ายคลึงกับนิยามของ Thailand 4.0 ที่เราเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ความคืบหน้าสำคัญคือเว็บไซต์ https://data.gov.sg ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บท่าของรัฐบาลสิงคโปร์ รวบรวมชุดข้อมูลจากหน่วยงานรัฐกว่า 70 แห่งเข้าไว้ด้วยกัน เปิดตัวครั้งแรกในปี 2011 ให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้แบ่งปันแลกเปลี่ยนชุดข้อมูลระหว่างหน่วยงาน หลังจากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนารูปแบบจนปัจจุบันเปิดให้บริการแก่สาธารณะในเวอร์ชั่นทดลอง

ข้อมูลบน https://data.gov.sg มีทั้งข้อมูลซึ่งถูกวิเคราะห์และออกแบบโดยทีมงานให้อยู่ในรูปแบบแผนภาพที่เข้าใจง่าย เหมาะแก่การนำไปสื่อสารต่อได้เลย และชุดข้อมูลอย่างละเอียดในรูปแบบของไฟล์ .csv สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปวิเคราะห์หรือวิจัยเพิ่มเติม แบ่งตามประเภทของข้อมูลที่ชัดเจน ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ถูกพัฒนาขึ้นอยู่บนพื้นฐานว่าข้อมูลต้องถูกทำให้เข้าถึงง่าย พร้อมใช้งานสำหรับการร่วมสร้างสรรค์สิ่งใหม่, ต้องถูกปล่อยออกมาในเวลาที่เหมาะสม, ต้องถูกแชร์ในรูปแบบ machine-readable, และจะต้องเป็นข้อมูลที่ดิบที่สุดเท่าที่จะทำได้

ชุดข้อมูลบนเว็บไซต์นี้นำไปสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวสิงคโปร์แล้วกว่า 100 แพลตฟอร์ม เช่น https://schoolpicker.sg แพลตฟอร์มที่ช่วยให้นักเรียนชาวสิงคโปร์ตามหาโรงเรียนใกล้บ้านที่มีกิจกรรมที่ตัวเองอยากทำ หรือ traintraintrain โปรเจ็กต์ทดลองที่แสดงที่ตั้งของขบวนรถไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ ให้การเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะที่สามารถวางแผนได้อยู่แล้ว วางแผนได้ดียิ่งขึ้นไปอีก โดยใช้ Open Data ที่สามารถเข้าถึงได้ และไม่ต้องเข้าไปยุ่งกับระบบการเดินรถไฟฟ้าเลยแม้แต่นิดเดียว

ยังไม่จบเพียงเท่านี้ เพราะทีมงานผู้พัฒนาเว็บไซต์แห่งนี้ยังมีการเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับการทำงานงานของพวกเขาในส่วน Blog ของเว็บไซต์ เพื่อแบ่งปันไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจในการพัฒนาสิงคโปร์ไปสู่ Smart Nation ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย

🚩 Open Data 
ประเทศ : สิงคโปร์
ผู้จัดทำเครื่องมือ : รัฐบาลประเทศสิงคโปร์

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

ACT Ai Open Data Center ฐานข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน

รวบรวม เชื่อมโยง และเปิดเผยข้อมูลสาธารณะที่มีความสำคัญต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อประโยชน์ของสาธารณะในการสร้างความโปร่งใสในสังคม

ACT Ai เฝ้าระวังการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยเครื่องมือสู้โกงภาคประชาชน

ข้อมูลการบริหารงบประมาณภาครัฐ ต้องไม่ใช่แดนสนธยาอีกต่อไป ถ้าเราสามารถดูข้อมูลได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่คลิก และมีระบบช่วยประมวลผลให้ด้วยว่าโครงการนี้มีเรื่องเอ๊ะ เรื่องน่าสงสัยอะไรหรือเปล่านะ ก็คงจะดี

You might also like...

KRAC The Experience | EP 4 “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

เปิดเผยข้อมูลแบบโปร่งใสอย่างสุดโต่ง คืออะไร ? วันนี้เรามีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับข้อมูลเปิด (Open Data) มาเล่าให้คุณฟังกับ KRAC The Experience ตอน “Tales of Transparency : Lesson learns from Georgia”

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : ‘อาหรับสปริง’ จุดเริ่มต้นจาก 1 ประชาชน สู่การปฏิวัติกว่า 15 ประเทศ

ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศของตัวเองดีขึ้น… ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองมีความยุติธรรม… ไม่ว่าใครก็อยากเห็นประเทศตัวเองไม่มีการคอร์รัปชัน… แต่หลายคนมองว่าเราเป็นเพียงประชาชนตัวเล็กๆ คนหนึ่งไม่สามารถเปลี่ยนอะไรได้ การเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นเรื่องไกลตัวที่ไม่มีทางที่คนหนึ่งคนจะทำได้จริง แต่เชื่อหรือไม่ว่าในประเทศตูนิเซียมีชายขายผักที่ออกมาเรียกร้องความยุติธรรมจนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การลุกฮือปฏิวัติในประเทศอาหรับมากกว่า 15 ประเทศ

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : หมูเด้งดัง แต่ตังค์อาจไปเข้าหมูไหน?

ปฏิเสธไม่ได้กับความดังระดับซูเปอร์สตาร์ระดับโลกของลูกฮิปโปแคระ “หมูเด้ง” แห่งสวนสัตว์เขาเขียว ที่เรียกได้ว่าเกิดมาเพื่อเป็นดาวก็ไม่ผิดด้วยอายุเพียง 3 เดือนกับปรากฏการณ์ “หมูเด้งฟีเวอร์” ด้วยรูปร่างหน้าตาน่ารัก ขัดกับนิสัยที่ดูเกรี้ยวกราดโดยภาพที่ปรากฏออกมาในการไล่งับขาของผู้ดูแลทั้งที่ฟันก็ยังไม่ขึ้นนั้นได้กลายเป็นกระแสไปทั่วโลกออนไลน์ โดยความดังนั้นไม่ได้หยุดเพียงแค่ในประเทศไทยแต่ดังไปไกลถึงระดับโลก การันตีด้วยการขึ้นเป็นพาดหัวข่าวในสื่อชื่อดังอย่าง Time Magazine และ The New York Times