Global Anti-Corruption Training Platform : พื้นที่เสริมสร้างศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่ได้มาตรฐาน

เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่สนใจสืบค้นนโยบายและมาตรการในการต่อต้านคอร์รัปชัน หรือต้องการใช้บริการคอร์สอบรมต่าง ๆ

ที่มาภาพ : Global Anti-Corruption Training Platform

Global Anti- Corruption Training Platform เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่รวบรวมองค์ความรู้ และทรัพยากรที่เป็นประโยชน์ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่นำเสนอโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ มีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมศักยภาพในการต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชัน มุ่งเน้นให้ผู้ใช้งานได้เรียนรู้สาเหตุของการทุจริตคอร์รัปชัน ผลกระทบ และวิธีการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ ดำเนินการโดย The Rule of Law and Anti-Corruption Center (ROLACC) /The United Nations Institute for Training and Research (UNITAR)

เว็บไซต์นี้มีไฮไลต์อยู่ตรงที่การรวบรวมผลงานทั้งหมดด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่ดำเนินการภายใต้หน่วยงานของสหประชาชาติ เรียกได้ว่าเก็บงานต้านโกงของ UN ครบ จบไว้ในที่เดียวเชียวล่ะ มาดูกันว่า มีฟีเจอร์อะไรน่าสนใจบ้าง !

ที่มาภาพ : Global Anti-Corruption Training Platform
  • Online Training ฟีเจอร์ที่รวบรวมโปรแกรมฝึกอบรมที่มาพร้อมกับแคปชั่นสั้น ๆ ดึงดูดชวนให้ผู้เข้าใช้งานสมัครเข้าอบรมในโปรแกรมที่น่าสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ เช่น Anti-Corruption and Human Rights โดย UNITAR, Anti-Corruption in the Context of the 2030 Agenda, Anti-corruption eLearning Course โดย UNODC
  • Publications ทั้งบทความ งานวิจัย และรายงานต่าง ๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่โดยหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติถูกรวบรวมเข้าไว้ในฟีเจอร์นี้ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ กรณีศึกษา คู่มือการปฏิบัติงาน เครื่องมือกลไก กิจกรรม หรือนานาสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น United Nations Economic and Social Council & General Assembly, International Monetary Fund (IMF), Office of the High Commissioner for Human Rights (OHCHR) เป็นต้น
  • Websites คุณสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ด้านการต่อต้านการทุจริตจากหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติได้ที่นี่ด้วย เช่น The Global Portal on Anti-Corruption for Development, The Global Portal on Anti-Corruption for Development, The International Monetary Fund เป็นต้น
  • Video รวมคลิปวิดีโอให้ความรู้เรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันเบื้องต้นโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ เช่น Here Are 10 Ways to Fight Corruption โดยWorld BankWhy tackling corruption is the key to all SDGs โดย Transparency International, Corruption Wahala – An Everyday Tale โดย United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) เป็นต้น

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปค้นคว้าข้อมูลและเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โดยคลิกที่ปุ่มด้านล่างได้เลย

🚩 Global Anti-Corruption Training Platform
🚩 ดำเนินการโดย : The Rule of Law and Anti-Corruption Center (ROLACC) และ The United Nations Institute for Training and Research (UNITAR)

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงาน
05_โลโก้ KRAC

หัวข้อ
Related Content

พิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง : เข้าสู่โลกของ Virtual Museum เรียนรู้การต้านโกงไปกับ ป.ป.ช.

Virtual Museum ที่จะพาทุกคนไปศึกษาเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน 9 โซนเรียนรู้ที่มีเนื้อหาที่ทันสมัย อร่อยย่อยง่ายเหมาะกับทุกคน

The U4 Anti-Corruption Resource Centre : ศูนย์กลางงานวิจัยและคอร์สเรียนรู้ด้านคอร์รัปชันที่ทันสมัย

เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่สนใจสืบค้นนโยบายและมาตรการในการต่อต้านคอร์รัปชัน หรือต้องการใช้บริการคอร์สอบรมต่าง ๆ

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้