KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการคอร์รัปชันได้ง่าย ๆ เริ่มต้นจากการพัฒนาชุมชน

ลดการคอร์รัปชันได้ง่าย ๆ เริ่มต้นจากการพัฒนาชุมชน  

 

รู้หรือไม่ว่ากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีเขตการปกครองมากถึง 50 เขต ทำให้กรุงเทพฯ มีชุมชนอยู่มากถึง 2,068 ชุมชน ซึ่งในจำนวนนั้นมีชุมชนแออัด 662 ชุมชน โดยทุกชุมชนจะได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน สนับสนุนรายเดือนจากสำนักงานเขตเพื่อนำไปพัฒนาชุมชนของตนเอง แบ่งเป็น ชุมชนขนาดเล็ก ชุมชนละ 5,000 บาท ชุมชนขนาดกลาง ชุมชนละ 7,500 บาท ชุมชนขนาดใหญ่ ชุมชนละ 10,000 บาท

ซึ่งถ้ามองเงินส่วนนี้จากเพียงอย่างเดียวอาจเป็นจำนวนเงินที่ไม่มาก แต่ถ้าทุกชุมชนรวมกัน รัฐต้องจ่ายงบประมาณหลายล้านบาทในทุกเดือน หากเกิดการทุจริตหรือมีการบริหารจัดการงบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพเงินที่รัฐสนับสนุนก็จะไปไม่ถึงประชาชน ชุมชนก็จะขาดการพัฒนา และสร้างความเสียหายกับงบประมาณของประเทศ  

การศึกษาคอร์รัปชันในชุมชนจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งงานวิจัยเรื่องกระบวนการติดตั้งระบบและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบางบัว เขตบางเขน และชุมชนหลังแฟลตร่วมพัฒนา เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร” (2563) โดย อมรรัตน์ กุลสุจริต และคณะ ได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการสร้างกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในชุมชน กรณีศึกษาจาก 2 ชุมชน คือ ชุมชนบางบัว เขตบางเขน และ ชุมชนหลังแฟลตร่วมพัฒนา เขตหลักสี่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ใน ชุมชน

KRAC Corruption จึงอยากมาเล่ากระบวนการของงานวิจัยชิ้นนี้ โดยยกกรณีชุมชนบางบัว มาเป็นตัวอย่างเพื่อสะท้อนว่า ชุมชนเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง กระบวนการวิจัยเข้าไปสนับสนุนการสร้างกลไกของชุมชนได้อย่างไร และผลลัพธ์เป็นอย่างไร 

ทีมวิจัยได้ลงไปศึกษาและทำงานร่วมกับคนในชุมชนบางบัว ในเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร จนได้พบว่ามีปัญหาหลายอย่างก่อให้เกิดการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพและมีความเสี่ยงที่จะเกิดการคอร์รัปชัน เช่นคณะกรรมการไม่เปิดโอกาสให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วม ไม่มีการเปิดข้อมูลให้สมาชิกชุมชนได้รับทราบ รวมถึงขาดกลไกเฝ้าระวังและตรวจสอบทุจริต  

จากปัญหาที่พบ ทีมวิจัยจึงได้ร่วมพูดคุยกับคณะกรรมการชุมชนและสมาชิกในชุมชนบางบัว เพื่อร่วมกันออกแบบกติกาชุมชน และสร้างกลไกในการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการคอร์รัปชันในการบริหารจัดการชุมชน ดังนี้ 

กำหนดประชุมคณะกรรมการชุมชนทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน

เพื่อให้การประชุมมีความสม่ำเสมอพร้อมทั้งให้มีการบันทึกการประชุม และการลงมติการประชุมทุกครั้ง โดยให้เป็นไปตามเสียงข้างมากตามรูปแบบของประชาธิปไตย

เสนอให้คณะกรรมการชุมชนทำสรุปบัญชีรายรับรายจ่ายประจำเดือน

เพื่อให้เห็นงบประมาณเข้า-ออก พร้อมแจ้งสาเหตุของการนำเงินไปใช้ เพื่อให้เกิดการบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้อง

เสนอให้คณะกรรมการชุมชนเปิดโอกาสให้สมาชิกชุมชนมีส่วนร่วม

ในการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอนและมีการประเมินผลเพื่อนําไปสู่ความรู้สึกว่าชุมชนเป็นของทุกคน (sense of belonging) ซึ่งคณะกรรมการชุมชนเองก็ตอบรับ

เสนอให้มีการเปิดเผยข้อมูลบัญชี การทำงาน และกิจกรรมของชุมชน

เพื่อให้สมาชิกในชุมชนรับรู้ และยังมีการสร้างเครื่องมือการรับเรื่องร้องเรียนภายในชุมชนเพื่อนำข้อร้องเรียนมาแก้ไข

นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้จัดอบรมเรื่องการบริหารจัดการที่ดีและการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับสมาชิกในชุมชน สร้างกลไกยกย่องคนดี ซึ่งจะให้รางวัลกับผู้ที่กล้าแจ้งเบาะแสทุจริต โดยจะได้รับการโหวตจากคนในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และยังมีการทำงานร่วมกับภาคีภายนอก เพื่อปรึกษาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเขตที่เป็นผู้ให้งบประมาณ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน   

หลังจากที่คณะกรรมการชุมชน ได้นำข้อเสนอไปปรับใช้ ทีมวิจัยได้เข้าไปสังเกตการณ์ทำงาน พบว่า ชุมชนพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น มีการประชุมคณะกรรมการชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และรูปแบบการประชุมเป็นไปตามหลักประชาธิปไตย การบันทึกรายรับรายจ่ายที่แยกกันชัดเจน มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับคนในชุมชนรับทราบทั้งเรื่องบัญชีชุมชนและกิจกรรมชุมชน ตลอดจนสมาชิกชุมชนได้มีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างเต็มใจ

นอกจากนี้ คณะกรรมการชุมชนและสมาชิกชุมชนได้มีทัศนคติที่เปลี่ยนไป และเห็นถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลและการมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งในอนาคต ทัศนคติและกลไกที่เปลี่ยน จะช่วยลดโอกาสการคอร์รัปชัน การบริหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้งบประมาณเข้าถึงประชาชนและพัฒนาชุมชนได้อย่างแท้จริง  

ชุมชนบางบัวเป็นหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการบริหารจัดการของชุมชนบางพื้นที่ อาจยังมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดคอร์รัปชันได้ จากการมีกลไกป้องกันการคอร์รัปชันที่ยังไม่ดีพอ แต่หากชุมชนมีความเข้มแข็งและร่วมมือกันค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น ก็สามารถสร้างกลไกที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

งานวิจัยเรื่องนี้จึงชี้ให้เห็นตัวอย่างของความสำเร็จจากการพัฒนาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม หากประเทศไทย สามารถสร้างกลไกป้องกันการคอร์รัปชันและส่งเสริมการบริหารจัดการที่ดีให้กับชุมชนได้ เกิดการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการคอร์รัปชันขึ้นได้ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในชุมชน 

นอกจากชุมชนบางบัวแล้ว งานวิจัยยังมีตัวอย่างของชุมชนหลังแฟลตร่วมพัฒนาที่เรายังไม่กล่าวถึง รวมถึงรายละเอียดของข้อมูลในงานวิจัยที่ไม่สามารถยกมาเล่าในนี้ทั้งหมดได้ ซึ่งผู้อ่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากงานวิจัย เรื่อง กระบวนการติดตั้งระบบและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบางบัว เขตบางเขน และ ชุมชนหลังแฟลตร่วมพัฒนา เขตหลักสี่กรุงเทพมหานคร” (2563) โดย อมรรัตน์ กุลสุจริต และคณะ

#พัฒนาชุมชน #ชุมชนบางบัว #ท้องถิ่น #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption 

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้