กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย

ศึกษากระบวนการขอสัมปทานการเก็บรังนกถ้ำ และการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงประเมินความเหมาะสมในกระบวนการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกถ้ำจากกรณีการทุจริตที่ผ่านมา

ธุรกิจรังนกถ้ำในประเทศไทย เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง และมีการจำกัดการเข้ามาประกอบธุรกิจด้วยกระบวนการสัมปทานตามกฎหมาย ซึ่งถ้าหากขาดการตรวจสอบและป้องกันที่ดีแล้ว จะเปิดโอกาสให้มีการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการทุจริตได้ เมื่อประกอบกับการที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและการให้สัมปทานรังนกถ้ำ เข้าถึงได้ยากและขาดความโปร่งใสแล้ว จึงทำให้ความสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

งานวิจัยเรื่องนี้ จึงมุ่งศึกษากระบวการขอสัมปทานการเก็บรังนกถ้ำ และการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงประเมินความเหมาะสมในกระบวนการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกถ้ำ จากกรณีการทุจริตที่ผ่านมา พร้อมจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา และออกแบบนโยบายป้องกันการทุจริตจากการให้สัมปทานจากธุรกิจรังนกถ้ำ

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่ากระบวนการนี้มีช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้เกิดการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจซึ่งมีความสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริต ที่สามารถอธิบายผ่านกรอบทฤษฎีตัวการ-ตัวแทน (Principal-Agent) ได้ ซึ่งมีจุดเสี่ยงหลักอยู่ 3 จุด ได้แก่
  1. คณะกรรมการ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมกระบวนการสัมปทานตั้งแต่ต้นจนจบอย่างเบ็ดเสร็จ
  2. การขาดระบบการตรวจสอบที่เหมาะสมกับลักษณะโครงสร้างและสภาวการณ์ของอุตสาหกรรมรังนกถ้ำที่ข้อมูลมีความไม่สมมาตร หรือการขาดข้อมูลและข้อมูลขาดความโปร่งใส
  3. ผู้ดำเนินงานตามระเบียบและข้อกำหนด เป็นบุคคลที่อยู่ในคณะกรรมการร่วมกันทั้งสิ้น และมีหน้าที่ตรวจสอบการมอบและรับเงินอากรเหล่านั้นเองโดยไม่มีกระบวนการตรวจสอบจากบุคคลภายนอกคณะกรรมการอย่างเป็นทางการ

ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นช่องโหว่ที่เปิดโอกาสสู่การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่อาจเกี่ยวข้องกับการทุจริตได้

ข้อเสนอเเนะจากงานวิจัย

  • เพื่อแก้ไขปัญหาที่นำไปสู่การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อการทุจริตในการสัมปทานรังนกถ้ำในประเทศไทย ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการให้สัมปทาน และการตรวจสอบการแบ่งปันผลประโยชน์ธุรกิจรังนกถ้ำ 3 ประการ ดังนี้
  1. เสนอให้มีการปรับโครงสร้างคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกให้มีการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างกันได้
  2. กำหนดกระบวนการตรวจสอบเฉพาะเจาะจงสำหรับการให้สัมปทานรังนกที่ชัดเจน ด้วยการใช้กลไกของคณะกรรมการตรวจสอบดังที่นำเสนอไปในข้อที่หนึ่ง และขอคำแนะนำจากหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐ เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพื่อนำมาพัฒนาแนวทางการตรวจสอบที่เหมาะสมสำหรับแต่ละพื้นที่ต่อไป
  3. จัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อเสนอแนะข้อนี้มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นพื้นฐานในการออกแบบปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ตามข้อเสนอแนะสองข้อแรก เนื่องจากปัญหาสำคัญของการสัมปทานนี้ คือการขาดข้อมูลและข้อมูลขาดความโปร่งใส ซึ่งรวมถึงการที่ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างไม่มีมาตรฐาน ขาดความต่อเนื่อง และถูกบิดเบือนโดยไม่มีการตรวจสอบ
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และวัชรพงศ์ รติสุขพิมล. (2562). กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • ต่อภัสสร์ ยมนาค
  • วัชรพงศ์ รติสุขพิมล
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

แนวโน้มการฟอกเงินในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีการฟอกเงินผ่านนิติบุคคล และธุรกิจบังหน้า ทนายความและนักบัญชี บริษัทนำเที่ยว ทรัสต์ต่างประเทศที่ดำเนินการในประเทศไทย การเล่นแชร์ที่มีการฉ้อโกงและการฟอกเงินผ่านองค์กรไม่แสวงหากำไร 

เมื่อการฟอกเงินเป็นปัญหาร้ายแรงที่ยังคงแพร่หลายในสังคมไทย การแก้ไขปัญหาจึงต้องลองศึกษาแนวทางที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทประเทศไทยในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

การจ่ายสินบนให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐของบรรษัทข้ามชาติ และนักลงทุนที่ประกอบธุรกิจและลงทุนในประเทศไทย

การศึกษาสถานการณ์เรื่องการเรียกรับและให้สินบนของภาคธุรกิจในประเทศไทย แนวทางการดำเนินการของสำนักงาน ป.ป.ช. ในการจัดการปัญหา พร้อมทั้งถอดบทเรียน Best Practice จากต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อหาแนวทางการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย

ความเสี่ยงต่อการทุจริตในปัญหาการบุกรุกทรัพยากรป่าไม้ กรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ริม พื้นที่ม่อนแจ่ม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างการดำเนินการจัดการพื้นที่ป่าของภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการบุกรุกป่าเกิดขึ้นได้ยาก ภาครัฐจึงต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ไม่เลือกปฏิบัติ และต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างยั่งยืน

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)