KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I กรีซ บังคับใช้กฎหมายต้านทุจริต ลดการติดสินบนของนิติบุคคลต่อหน่วยงานรัฐ

“เงินมางานเดิน” วาทกรรมการติดสินบนระหว่างนิติบุคคลและหน่วยงานรัฐ…ที่อาจหายไปจากกรีซ

ไม่นานมานี้ประเทศกรีซ ได้มีการทบทวนเกี่ยวกับการรับผิดทางอาญาสำหรับนิติบุคคลที่ติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งในอดีตไม่มีแนวทางดังกล่าว และอยู่ภายใต้กฎหมายที่มีเพียงฝ่ายบริหารของนิติบุคคลเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดทางอาญา

แต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ผ่านมา กรีซได้มีการบังคับใช้อำนาจตามกฎหมายใหม่ที่ว่าด้วยการรับผิดชอบทางกฎหมายโดยนำมาใช้กับการรับผิดที่เกี่ยวกับการติดสินบนที่เป็นอิสระอย่างชัดเจนซึ่งทุกหน่วยงานของรัฐจะถูกบังคับให้ใช้กฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development; OECD) รวมถึงคำแนะนำในการต่อต้านการติดสินบนและเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตในต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (Anti-Bribery Recommendation and along the lines of the U.S. Foreign Corrupt Practices) และกฎหมายต่อต้านการติดสินบนของสหราชอาณาจักร – พระราชบัญญัติการติดสินบน (UK Anti-Bribery Act) เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานในระดับนานาชาติ และสร้างมาตรฐานใหม่ที่จะดึงดูดการลงทุนและส่งเสริมสถานการณ์ทางธุรกิจ

ภายใต้กฎหมายใหม่ได้มีการกล่าวถึง การติดสินบนพนักงานสาธารณะ นักการเมือง หรือผู้พิพากษา ที่กระทำโดยบุคคลเพื่อผลประโยชน์หรือในนามของ “นิติบุคคล” ที่กระทำการโดยลำพังหรือในฐานะสมาชิกของฝ่ายบริหารของนิติบุคคล ซึ่งจะต้องรับผิดด้วยการจ่ายค่าปรับที่อาจเพิ่มเป็นสองเท่า นอกจากนี้ใบอนุญาตของนิติบุคคลลนั้น ๆ ก็อาจถูกเพิกถอน หรือถูกระงับเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนถึงสองปี หรืออาจถูกบังคับให้หยุดดำเนินการ

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการกระทำผิดเกี่ยวกับการติดสินบนที่กระทำโดยผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้รับมอบหมาย หรือคนกลางของนิติบุคคลที่เกิดขึ้นจากการขาดการกำกับดูแล ซึ่งจะต้องรับผิดต่อค่าปรับที่อาจสูงถึงมูลค่าผลประกอบการประจำปีของนิติบุคคลนั้น ๆ และอาจถูกเพิกถอนหรือระงับใบอนุญาตเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี

ในแง่ของกฎหมายใหม่ยังบังคับให้ผู้ที่ได้รับสินทรัพย์หรือผู้รับสืบทอดนิติบุคคล ต้องรับผิดถึงมูลค่าของนิติบุคคลที่ได้มา ทั้งจากการเข้าซื้อกิจการนิติบุคคลและการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ส่งผลให้ผู้ลงทุนควรระมัดระวังความเสี่ยงดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมผ่านการควบรวมกิจการหรือธุรกรรมการโอนสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ และควรดำเนินการตรวจสอบสถานะเชิงลึก

ในขณะเดียวกันก็คาดว่านิติบุคคลจะปรับปรุงนโยบายภายในของตนที่จะเสริมสร้างให้เกิดการตรวจสอบทั่วทั้งองค์กรและเครือข่ายธุรกิจของตนเอง เพื่อให้มั่นใจว่ามีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ที่รวมถึงการไม่ติดสินบนต่อเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐใดเลย

การปรับปรุงกฎหมายต่อต้านการทุจริตอย่างการรับสินบนของหน่วยงานรัฐจากนิติบุคคล มีผลต่อการดำเนินธุรกิจและความน่าเชื่อถือของประเทศอื่น ๆ ที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างเพื่อสร้างกฎหมายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันที่เข้มแข็งและสร้างความเป็นกลางและเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจของประชาชนได้

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เกาหลีใต้เอาชนะการทุจริตจากผู้มีอิทธิพลภาคธุรกิจได้อย่างไร ?

การทำธุรกิจนั้นมีการแข่งขันสูง หลายธุรกิจมีแรงกดดันที่ต้องเอาชนะคู่แข่งในตลาด ต้องพยายามลดต้นทุนให้น้อยลงและสร้างรายได้ให้มากขึ้น จนหลายบริษัทเลือกที่จะใช้ “ทางลัด” หรือคอร์รัปชัน เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางต้นทุน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน

ในการทำธุรกิจ หลายครั้งผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการต้องยอมจ่ายเงิน “สินบน” ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยให้การทำเรื่องเร็วขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะต้องรอทำเรื่องเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งหลายคนก็ยอมจ่ายเล็กน้อยเพื่อให้กิจการคล่องขึ้น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น