การจัดทำ Benchmark ด้านคอร์รัปชันสำหรับประเทศไทย

พัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการคอร์รัปชันในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence-based) เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวชี้วัดของไทย

งานวิจัยเรื่องนี้ ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence-based) เพิ่มเติมจากข้อมูลที่หลายหน่วยงานได้รายงานไว้แล้วในรูปแบบข้อมูลเชิงทัศนคติ หรือการรับรู้ (Perception-based) เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวชี้วัดของไทย

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา ทำให้คณะผู้วิจัยได้เครื่องมือประเมินที่มีตัวชี้วัดทั้งหมด จำนวน 59 ตัวชี้วัด ในการนี้ คณะผู้วิจัย ได้แยกตัวชี้วัด 22 ตัวชี้วัด ที่หน่วยงานภาครัฐได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้ว และสามารถนำมาใช้ประเมินได้ทันที ส่วนที่เหลืออีก 37 ตัวชี้วัด ยังไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลมาก่อน จึงควรเลือกมาใช้เป็นตัวชี้วัดในอนาคตต่อไป โดยตัวชี้วัด 22 ตัว ที่นำมาประเมินได้ทันที แบ่งออกเป็น 10 หมวดได้แก่
    1. หมวดสถานการณ์คอร์รัปชันในภาพรวม
    2. หมวดสถานการณ์คอร์รัปชันจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ประกอบด้วยหมวดย่อย ได้เเก่  การเก็บภาษีและการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และการบริหารงบประมาณ (เจตนาและความเสี่ยง)
    3. หมวดเหตุปัจจัยภายในประเทศ
    4. หมวดเหตุปัจจัยภายนอกประเทศ ประกอบด้วยหมวดย่อย ได้เเก่ แรงงานผิดกฎหมาย และสินค้าผิดกฎหมาย
    5. หมวดการใช้อิทธิพล ขบวนการ และเครือข่าย
    6. หมวดการมีกฎระเบียบการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประกอบด้วยหมวดย่อย ได้เเก่ กฎระเบียบที่สามารถปฏิบัติได้ผลกับกระบวนการปัญหา กลุ่มเป้าหมายที่มีอิทธิพล และพฤติกรรมการใช้อิทธิพลของผู้ทุจริต และผลของการปฎิบัติตามกฎหมาย
    7. หมวดการมีองค์กรป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันที่เข้มแข็ง และมีสมรรถนะ ประกอบด้วยหมวดย่อย ได้เเก่ ความพร้อมด้านบุคลากร ความพร้อมด้านงบประมาณ ความพร้อมด้านฐานข้อมูลและเครือข่าย ประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานหลัก ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐในการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน และความพร้อมด้านการพัฒนา
    8. หมวดการสร้างและใช้เครือข่ายต่อต้านการคอร์รัปชัน
    9. หมวดผลสัมฤทธิ์ของการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชัน
    10. หมวดความเชื่อมั่นของสาธารณชน ต่อการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของสังคม
  • การประมวลผลเป็นค่าดัชนีชี้วัดคอร์รัปชันของประเทศไทย พบว่า สามารถคำนวณได้จากคะแนนของตัวชี้วัดย่อยในแต่ละด้าน ซึ่งจะนำมารวมกัน เพื่อให้เห็นภาพของแต่ละด้าน ได้แก่ คะแนนด้านเพิ่มความรุนแรงของคอร์รัปชัน 67 คะแนน และด้านคะแนนลดความรุนแรงคอร์รัปชัน 33 คะแนน จากนั้นจะนำคะแนนทั้ง 2 ด้านมารวมกัน เพื่อดูภาพรวมว่ามีคะแนนเป็นเท่าใด และนำตัวเลขที่ได้มาจากระดับคอร์รัปชัน ซึ่งจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 คะแนน ผลรวมคะแนนตัวชี้วัดคอร์รัปชันของประเทศไทยจะปรับเป็นค่าร้อยละ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการพิจารณา และแปลผลตามการจัดอันดับคอร์รัปชันต่อไป
  • ข้อเสนอแนะในการนำตัวชี้วัดไปประยุกต์ใช้ คือ สำนักงาน ป.ป.ช. ควรตั้งคณะกรรมการ หรือคณะทำงานพิจารณาดำเนินการให้มีการนำเกณฑ์มาตรฐานไปสู่การปฏิบัติร่วมกันในกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. สำนักงาน สตง. และสำนักงาน ปปง. รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และเครือข่าย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการวางแผนจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่จะนำมาใช้ต่อไป นอกจากนี้ ควรนำเกณฑ์มาตรฐานไปใช้เป็นเครื่องมือประกอบแผนยุทธศาสตร์การป้องกันปราบปรามและแก้ไขการคอร์รัปชัน เพื่อจัดทำเป็น KPI และเกณฑ์การประเมินผลสำหรับปฏิบัติต่อไป สำหรับกลุ่มบุคคลฝ่ายการเมืองและประชาชน ซึ่งไม่ได้มีแผนยุทธศาสตร์เหมือนฝ่ายปฏิบัติ ควรมีการนำเสนอผลต่อสาธารณะ เพื่อให้ทราบคะแนนผลการประเมินด้านคอร์รัปชันในกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

วิชัย รูปขำดี. (2557). การจัดทำ Benchmark ด้านคอร์รัปชันสำหรับประเทศไทย. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 7(2), 100-119.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง

วิชัย รูปขำดี

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้