KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I คริปโทเคอร์เรนซี ช่องทางเสี่ยงคอร์รัปชัน

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันเกาหลีใต้เร่งตรวจสอบคริปโทเคอร์เรนซีนักการเมือง

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ACRC (Anti-corruption & Civil Rights Commission) หรือคณะกรรมการต่อต้านการทุจริต และสิทธิพลเมืองเกาหลีใต้ได้แถลงการณ์ถึงความตั้งใจที่จะตรวจสอบทรัพย์สินดิจิทัลรูปแบบ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ของนักการเมือง รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายทุกคน

โดยเหตุผลที่ ACRC หันมาสนใจทรัพย์สินประเภทคริปโทเคอร์เรนซีเป็นผลมาจากข่าวฉาวของ Kim Nam-kuk อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎรพรรค Democratic Party of Korea (DPK) ที่พบว่ามีทรัพย์สินคริปโทเคอร์เรนซีที่ถือครองไว้มีมูลค่ากว่า 6,000 ล้านวอน หรือประมาณ 160 ล้านบาท ซึ่งทรัพย์สินจำนวนนี้ไม่มีที่มาที่ไปที่ชัดเจน หรืออาจเข้าข่ายที่เรียกว่าร่ำรวยผิดปกติ โดยคริปโทเคอร์เรนซีเป็นทรัพย์สินดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่พึ่งเริ่มเป็นที่นิยมไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ยังไม่มีการจัดการที่ครอบคลุมและอาจทำให้เกิดช่องว่างในการฟอกเงินหรือการพยายามปิดบังทรัพย์สินได้

Jeon Hyun-heui ประธานคณะกรรมการ ACRC ได้ประกาศว่า ACRC มีความมุ่งมั่นที่จะสอบสวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนอื่น ๆ ด้วยมาตรการเชิงรุก แต่ถึงอย่างนั้นการเปิดข้อมูลทรัพย์สินก็ต้องได้รับความร่วมมือจากนักการเมืองที่เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งการเข้าถึงทรัพย์สินประเภทคริปโทเคอร์เรนซียังมีระบบปกปิดข้อมูลส่วนตัวค่อนข้างสูง ทำให้การเปิดข้อมูลในส่วนนี้เป็นเรื่องยาก

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเกาหลีใต้ได้มีการผ่านกฎหมาย “Kim Nam-kuk Prevention Act” ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้มีการเปิดข้อมูลทรัพย์สินดิจิทัลประเภทคริปโทเคอร์เรนซีของนักการเมืองและข้าราชการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย และในส่วนของนาย Kim Nam-kuk ปัจจุบันได้ถูกขับออกจากตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรแล้ว และการดำเนินคดีตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการสืบสวนของ ACRC ที่ยังคงต้องติดตามกันต่อไป

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 4 ชาติ 4 แนวทาง หยุดทุจริตเชิงนโยบาย

เคยได้ยินชื่อของ “คดีทุจริตคลองด่าน” กันไหม ? นี่คือหนึ่งในคดีทุจริตครั้งใหญ่ของประเทศไทยที่สร้างความเสียหายเป็นเงินกว่า 1,900 ล้านบาท ซึ่งการทุจริตที่ทำกันอย่างเป็นระบบจากคนหลายฝ่าย แบบนี้เราเรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบาย

KRAC Insight สรุปงานเสวนา | ทำอย่างไรจะช่วยลดการคอร์รัปชันจากช่องว่างของกฎหมาย?

ชวนอ่านสรุป “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หัวข้อ “การประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการคอร์รัปชันในกระบวนการนิติบัญญัติ”

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I เปิดให้โปร่งใส ต้านโกงแบบใหม่ในจอร์เจีย

เนื่องจากการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินทางการเมืองต้องมีความโปร่งใส และเป็นสิ่งที่รัฐบาลจอร์เจียให้ความสำคัญ จึงได้ออกกฎหมายที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ดยมีคำสั่งให้พรรคการเมืองที่ดำเนินกิจการในประเทศ …

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น