บทความวิจัย : การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง

การพิจารณาปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละระบบ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

 

ระบบเลือกตั้งเป็นประเด็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปทุกครั้งที่มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศบังคับใช้ แสดงให้เห็นถึงการขาดระบบการเลือกตั้งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง โดยการแก้ไขระบบการเลือกตั้งในปัจจุบัน มักมีการพิจารณาประเด็นการทุจริตการเลือกตั้งอันจะนำมาซึ่งผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปตามหลักพื้นฐานของระบบการเลือกตั้ง

บทความนี้ จึงต้องการนำเสนอแนวคิดในการพิจารณาระบบการเลือกตั้ง ข้อมูลระบบการเลือกตั้งและการทุจริตที่ได้มีการศึกษาขึ้นในต่างประเทศ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของระบบเลือกตั้งกับการทุจริตและรวมถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่มีผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

ผลการศึกษาพบว่า การเลือกตั้งระบบเขตเดียวเบอร์เดียวล้วนกับระบบผสมมีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่าระบบสัดส่วนล้วนอย่างมีนัยสำคัญ โดยระดับของการทำผิดเลือกตั้งของแต่ละระบบเรียงตามลำดับคือ ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว ระบบผสม และตามด้วยระบบสัดส่วน เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่แปรผันตามที่ตั้งของแต่ละกลุ่มประเทศ พบว่า กลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียตและอดีตยูโกสลาเวียล้วนมีการทำผิดเลือกตั้งในระดับที่สูงกว่ากลุ่มประเทศในยุโรปกลาง อย่างไรก็ตามเมื่อนำปัจจัยเรื่องระบบการเลือกตั้งและปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาใช้พิจารณาร่วมด้วย

ผลการวิเคราะห์ชี้ว่า ประเทศที่ตั้งอยู่ในกลุ่มอดีตสหภาพโซเวียตไม่ได้สัมพันธ์กับระดับของการทำผิดในระดับที่สูงขึ้น แต่ในประเทศที่ตั้งอยู่ในอดีตยูโกสลาเวีย มีโอกาสที่การเลือกตั้งจะอยู่ในระดับที่คุณภาพต่ำกว่า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากที่ประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ มีประสบการณ์ความขัดแย้งอย่างรุนแรงเป็นผลทำให้กลุ่มชนชั้นนำในสังคมมีความเชื่อมั่นลดลงในกระบวนการเลือกตั้ง

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

preechasinlapakun, somchai. (2020). การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง. King Prajadhipok’sInstitute Journal, 7(1). 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง

รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ