บทความวิจัย | การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น (ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยี)

ในยุคพลิกผันทางเทคโนโลยี (Technology Disruption) ทําให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นในกระบวนการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอแนวทางการบริหารจัดการการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบโดยเครือข่ายภาคประชาชน โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์ที่ทันสมัยในยุคเทคโนโลยีพลิกผันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้วิธีการศึกษาแบบทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริหารจัดการเครือข่ายการต่อต้านการทุจริต 

 

ผลการศึกษา พบว่า การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น จําเป็นต้องอาศัยสื่อสังคมออนไลน์กับการบริหารจัดการเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตในภาครัฐ โดยใช้งานเป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การประสานงานการทํากิจกรรม และการขับเคลื่อนเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตในภาครัฐและภาคประชาชนให้มีความยั่งยืน 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ศรินนา ศิริมาตย์. (2565). การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น (ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยี). วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 2538.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

ศรินนา ศิริมาตย์ 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I หน่วยงานต้านโกงฮังการีตั้งเป้าหมาย เริ่มพัฒนา AI ต่อสู้คอร์รัปชันในอนาคต

ฮังการีรายงานผลการทำงานปีที่ผ่านมาพร้อมประกาศเริ่มพัฒนา AI แก้ปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อเปิดทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเรียลไทม์

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริตอาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.