รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ศึกษารูปแบบและปัจจัยเสี่ยงของการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขหรือกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปัจจัยเสี่ยง เพื่อเสนอแนวทางแก้ไข หรือกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อมูลคดีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2559 และการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำคดีทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และศึกษาคำพิพากษาศาลเกี่ยวกับคดีการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเผยแพร่ จำนวน 46 คดี

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษารูปแบบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มี 5 รูปแบบที่สำคัญ ได้แก่ (1) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง (2) การทุจริตในงานการเงินและบัญชี (3) การทุจริตในการบริหารงานบุคคล (4) การทุจริตในการบังคับใช้กฎหมาย (5) การทุจริตในการบริการ โดยการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างเป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด 

  • ผลการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวมนั้น พบว่ามีหลายปัจจัย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้เเก่ ด้านบุคคล ระบบ และกระบวนการทำงาน โดยปัจจัยด้านบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานด้วยความไม่ซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ปัจจัยด้านระบบ เช่น การตรวจสอบภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ยังขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ปัจจัยด้านกระบวนการทำงาน เช่น การขาดการตรวจสอบ หรือการควบคุมดูแลการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา และความล่าช้าในการตรวจสอบการทุจริตของสำนักงาน ป.ป.ช.
  • ผลการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นเฉพาะรูปแบบการทุจริต พบว่ามีปัจจัยด้านกฎหมาย หรือระเบียบพัสดุที่ใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ขั้นตอนในการทำงานอย่างเคร่งครัด การมีประสบการณ์และความคุ้นเคยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ด้านการเงินและบัญชี ซึ่งทำให้เห็นถึงช่องว่างที่เป็นโอกาสในการทุจริตได้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยในเรื่องกฎหมาย ที่ให้อำนาจแก่ผู้บริหารท้องถิ่นในการบริหารงานบุคคลมากเกินไป หรือการใช้ดุลพินิจในการตีความกฎหมาย หรือสัญญาไปในทางที่มิชอบ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงในเรื่องตำเเหน่งหน้าที่ที่เอื้อต่อการทุจริต ก็เป็นช่องทางที่ทำให้เกิดความเสี่ยงการทุจริตได้
  • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และการปฏิบัติต่อการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับปรุงระบบการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ กำหนดเป็นนโยบายให้ผู้บังคับบัญชาต้องมีการกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ เพื่อสกัดกั้นการทุจริตในเบื้องต้น เเละให้มีการลงโทษทางวินัยโดยเร็วเมื่อพบการทุจริต เป็นต้น
  • ข้อเสนอแนะสำหรับสำนักงาน ป.ป.ช. เช่น ควรดำเนินการตรวจสอบการทุจริตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพื่อทำให้เกิดความเกรงกลัว และไม่กล้าที่จะทำการทุจริต รวมทั้งเพื่อให้ผู้ที่ต้องการแจ้งเบาะแส มีความเชื่อมั่นในระบบการปราบปรามการทุจริตมากขึ้น และควรมีการเสริมสร้างองค์ความรู้อื่นที่จำเป็นต่อการไต่สวนคดีทุจริต เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานโยธา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วย รวมถึงการพัฒนาเจ้าหน้าที่ด้านปราบปรามการทุจริตให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการทำคดี เพื่อให้สามารถวางแผนการทำคดีได้รวดเร็วขึ้น 
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ศักรินทร์ นิลรัตน์. (2562). รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 12(1), 105-120.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง
  • ศักรินทร์ นิลรัตน์
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และสถานการณ์ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ รวมถึงระบบและกลไกทางสังคมต่อการจัดการ และป้องกันปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรณีศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด

You might also like...

บทความวิจัย : นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน

การศึกษาสาเหตุของปัญหาคอร์รัปชันและการให้สินบน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การปรับทัศนคติของสังคม และโครงสร้างทางอำนาจของรัฐ

บทความวิจัย : การแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัลตามแนวพุทธจริยธรรม

หิริโอตตัปปะ ฆราวาสธรรม และทิศ 6 หลักธรรมที่ควรนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัล เพราะการแก้ปัญหาอาจต้องย้อนกลับไปแก้ไขที่รากเหง้า คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

บทความวิจัย : กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก

“กบฎโพกผ้าเหลือง” สะท้อนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจนำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้น เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง รัฐจะต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชัน ควบคู่ไปกับการดูแลประชาชนให้อยู่ดีกินดี