แนวทางการประยุกต์มาตรการสากลเพื่อการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย

ศึกษาการประยุกต์มาตรการสากลในบริบทของประเทศไทย โดยพิจารณาในส่วนขององค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้กับการคอร์รัปชันของประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยที่สุดของโลก ได้แก่ ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

งานวิจัยเรื่องนี้ มุ่งเน้นการวิเคราะห์แนวทางการต่อสู้กับการคอร์รัปชันในประเทศที่ได้รับการยกย่องว่ามีการคอร์รัปชันน้อยที่สุดของโลกและแถบเอเชีย ได้แก่ ฟินแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

จากวิธีการศึกษา ทำให้เห็นถึงแนวทางและวิธีการดำเนินการประยุกต์นำเอามาตรการสากลมาใช้ในประเทศไทยได้เป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่ มาตรการเชิงสนับสนุ มาตรการเชิงป้องกัน และ มาตรการเชิงปราบปราม โดยในแต่ละหมวด สามารถแบ่งได้เป็นหมวดของมาตรการย่อย ๆ ซึ่งแม้แต่ละมาตรการจะมีแนวทาง และการดำเนินงานที่เป็นของตัวเองในระดับหนึ่ง แต่ก็สามารถที่จะนำไปใช้ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ มาตรการเหล่านี้ แม้จะนำมาจากมาตรการขององค์กรระหว่างประเทศ และจากกรณีศึกษาของประเทศที่มีการทุจริตต่ำ แต่ก็ได้ผ่านการวิเคราะห์ เพื่อที่จะนำมาใช้ในสังคมไทย โดยจะนำเสนอเป็นหลักเหตุผลของแนวทางและวิธีการดำเนินงานของมาตรการต่าง ๆ ต่อไป

ผลจากการศึกษาออกมาในลักษณะของข้อเสนอ 8 มาตรการ ดังนี้ (1) มาตรการการจัดทำการสำรวจทัศนคติ (2) มาตรการการศึกษาและฝึกอบรม (3) มาตรการสร้างเครือข่าย (4) มาตรการสร้างความโปร่งใสกับสื่อ (5) มาตรการปราบปรามแบบเชือดไก่ให้ลิงดู (6) มาตรการการคุ้มครองและให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแส (7) มาตรการการประมวลจริยธรรม  และ (8) มาตรการการป้องกันการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา. (2553) แนวทางการประยุกต์มาตรการสากลเพื่อการต่อต้านการทุจริตของประเทศไทย. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2553
ผู้แต่ง

เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I หน่วยงานต้านโกงฮังการีตั้งเป้าหมาย เริ่มพัฒนา AI ต่อสู้คอร์รัปชันในอนาคต

ฮังการีรายงานผลการทำงานปีที่ผ่านมาพร้อมประกาศเริ่มพัฒนา AI แก้ปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อเปิดทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเรียลไทม์

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริตอาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.