โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์ของงานเรื่องนี้ เพื่อศึกษาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (หรือผลตอบแทนส่วนเกิน) ที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในโครงการรับจํานําข้าว ได้แก่ ชาวนา โรงสี เจ้าของโกดัง เซอร์เวย์เยอร์ ผู้ส่งออก และเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีแนวคิดหลัก คือ มาตรการจํานําข้าวเปลือกของรัฐบาลได้ก่อให้เกิดค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เพราะการจํานํามีการจํากัดปริมาณรับจํานําในราคาสูงกว่าราคาตลาด ทําให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับกำไรส่วนเกิน อีกทั้ง ได้ทำการศึกษารูปแบบการทุจริตที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการจํานําข้าวเปลือก เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลกระทบต่อต้นทุนการแข่งขันในตลาดข้าว และความสามารถในการแข่งขันข้าวของไทย

โดยคณะผู้วิจัยเลือกศึกษาโครงการรับจํานําข้าวเปลือกนาปี ฤดูการผลิต 2548/49 เนื่องจากเป็นปีที่รัฐจําหน่ายข้าวออกหมดแล้ว และมีข้อมูลค่อนข้างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังเป็นปีที่ราคาจํานําสูงกวาราคาตลาดมาก ทําให้มีการรับจํานําข้าวเปลือกจํานวนมากคล้ายกับสถานการณ์ในปี 2551-2552 สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามาจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษต องค์การคลังสินค้า กรมการค้าต่างประเทศ คณะกรรมการข้าวแห่งชาติ กองทุนช่วยเหลือเกษตรกร รายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ และรายงานวิจัยในอดีต 

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการศึกษา พบว่าโครงการรับจํานําข้าวเปลือกจํานวน 5.24 ล้านตัน ในปี 2548 ถึงปี 2549 ก่อให้เกิดต้นทุนทางการเงินและต้นทุนแฝง (implicit cost) เท่ากับ 51,758.26 ล้านบาท และภาระขาดทุนเท่ากับ 19,130 ล้านบาท
  • ผลการศึกษา พบว่าการรับจํานํามีผลให้สวัสดิการสังคมเปลี่ยนแปลงไป เพราะโครงการนี้เป็นการโอนทรัพยากรจากผู้เสียภาษี และผู้บริโภคมายังผู้ผลิต โดยต้นทุนสวัสดิการมีค่าอยู่ระหว่าง 16,609.94 ล้านบาท ถึง 17,720.99 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าการขาดทุน เพราะแม้ผู้บริโภคจะซื้อข้าวแพงขึ้น แต่ชาวนาที่ไม่ได้เข้าโครงการฯ ก็ได้รับอานิสงส์จากราคาข้าวในตลาดที่สูงขึ้น โดยได้รับประโยชน์ประมาณ ร้อยละ 56 ถึง ร้อยละ 63 ของผลประโยชน์ที่ตกเเก่ชาวนาทั้งหมด 
  • ผลการศึกษาสาเหตุที่โครงการรับจํานําข้าว มีปัญหาขาดทุนมหาศาล (ซึ่งเป็นบ่อเกิดของค่าเช่าทางเศรษฐกิจ) พบว่าเกิดจากการที่รัฐกำหนดราคารับจํานําข้าวเปลือกให้สูงกว่าราคาตลาด แต่ประมูลขายข้าวสารในราคาต่ำกว่าราคาส่งออกในตลาด การที่รัฐจายค่าจ้างสีแปรสภาพ และค่าเช่าโกดังให้ผู้ประกอบการในอัตราสูงกว่าอัตราตลาด และการที่รัฐเก็บข้าวไว้ในสต๊อกเป็นเวลานานจนคุณภาพเสื่อม มูลค่าการขาดทุน จึงประกอบด้วย ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ จํานวน 15,853 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการ และความสูญเสียจากการเก็บรักษาข้าว 3,276.8 ล้านบาท
  • ผลการศึกษาค่าเช่าทางเศรษฐกิจจากโครงการรับจํานําข้าว พบว่าจะถูกแบ่งให้ผู้ร่วมโครงการ ดังนี้ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์ ร้อยละ 37.25 ของมูลค่าขาดทุน ผู้ประกอบการโรงสี ได้รับ ร้อยละ 18 โกดังกลางและเซอร์เวย์เยอร์ได้รับ ร้อยละ 4.2 และพ่อค้าส่งออกได้รับ ร้อยละ 23.4 ส่วนนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ จะได้ส่วนแบ่งค่าเช่าจากโรงสี เจ้าของโกดัง และผู้ส่งออก ดังนั้น โครงการรับจํานํา จึงเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่สิ้นเปลือง นอกจากจะเกิดภาระขาดทุนมหาศาลจากการที่รัฐกลายเป็นผู้ค้าข้าวรายใหญ่แล้ว ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 55 ของผลตอบแทนส่วนเกิน) ไม่ได้ตกอยู่กับเกษตรกรตามเจตนารมย์ของนโยบาย และยังก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างมากมาย
  • ผลการศึกษาการแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐ พบว่าก่อผลกระทบรุนแรงต่อความสามารถในการส่งออก ทําให้ต้นทุนผลิตข้าวของสังคม (social cost) สูงขึ้น แต่คุณภาพข้าวต่ำลง พ่อค้าคนกลางในท้องถิ่น และตลาดกลางเลิกกิจการ พ่อค้าส่งออกรายใหญ่ ได้เปรียบพ่อค้าส่งออกข้าวรายอื่น ๆ การแทรกแซงบิดเบือนกลไกตลาด ทําให้การแข่งขันลดลง ยิ่งไปกว่านั้นการแทรกแซงยังก่อให้เกิดพฤติกรรมการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการทุจริตในทุกระดับของการแทรกแซง ผลที่ตามมา คือ ความเสียหายต่อการใช้ทรัพยากร และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 
  • คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะทางนโยบายที่สําคัญ เพื่อป้องกันการทุจริตต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก ดังนี้
    1. รัฐบาลควรยกเลิกโครงการรับจํานําข้าวเปลือก แล้วสั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินโครงการรับจํานําข้าวเปลือก จัดทํารายงานการเงิน และปิดบัญชีโครงการรับจํานําข้าวเปลือกทุกโครงการให้แล้วเสร็จในเวลา 1 ปี
    2. รัฐบาลควรจัดให้มีการประกันความเสี่ยงด้านราคาข้าว โดยเสนอให้รัฐบาลจํากัดเพดานการประกันของครัวเรือนเกษตรกรแต่ละราย ซึ่งผลการศึกษา พบว่าหากรัฐบาลกําหนดเพดานการประกัน 10 ตัน ต่อครัวเรือน จะมีเกษตรกร ร้อยละ 82 ที่ได้รับการประกันเต็มเพดาน ส่วนเกษตรกรซึ่งมีผลผลิตเกิน 10 ตัน ก็ยังคงได้รับความช่วยเหลือเฉพาะข้าวเปลือก 10 ตันแรก นอกจากนี้ คณะผู้วิจัย ยังเสนอให้เกษตรกรมีส่วนร่วมจ่ายค่าเบี้ยประกัน โดยในปีแรก รัฐอาจคิดค่าเบี้ยประกันอัตราต่ำ หรือไม่คิดเบี้ยประกัน เเต่ให้รัฐค่อย ๆ เพิ่มเบี้ยประกันในปีต่อไป รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เพื่อใช้เป็นกลไกป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากโครงการประกันความเสี่ยงราคา ตลอดจนให้บริษัทประกันภัยเอกชนเข้ามาเป็นผู้รับประกันต่อ (re-insurance) ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

นิพนธ์ พัวพงศกร และจิตรกร จารุพงษ์. (2555). โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2555
ผู้แต่ง
  • นิพนธ์ พัวพงศกร
  • จิตรกร จารุพงษ์
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

You might also like...

บทความวิจัย : การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้สามารถติดตามปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้ ต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต

บทความวิจัย : การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล

บทความวิจัย : กลไกป้องปรามการทุจริตของภาคประชาชนผ่านการสอดส่องและเสนอแนะ

การดำเนินกลไกป้องปรามการทุจริตผ่านคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ใช่ผู้บริหารในการตรวจสอบและติดตามการดำเนินโครงการจะทำให้เกิดความโปร่งใสและความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการ