KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน

ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน 

 

ในการทำธุรกิจ หลายครั้งผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการต้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อดำเนินการ เช่น ทำเรื่องขอค้าขาย ทำเรื่องขอใบจัดตั้งโรงงาน และต้องยอมจ่ายเงิน สินบนให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยให้การทำเรื่องเร็วขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะต้องรอทำเรื่องเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งหลายคนก็มองว่าการยอมจ่ายเล็กน้อยเพื่อให้กิจการคล่องขึ้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้  

รวมถึงในทางเศรษฐศาสตร์ก็มีสมมติฐานที่เรียกว่า “Grease Money Hypothesis” หรือ เงินหล่อลื่นที่เชื่อว่า การคอร์รัปชันในรูปแบบสินบนจะทำให้การทำธุรกิจคล่องตัวขึ้น แต่ความจริงอาจไม่ใช่แบบนั้น เพราะการจ่ายสินบนนอกจากจะไม่ช่วยดำเนินการให้เร็วขึ้นแล้ว ยังทำให้ช้าลงอีกด้วย 

จากงานวิจัย เรื่อง “สภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลกระทบของการจ่ายสินบนของภาคธุรกิจไทย” (2546)  โดยเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ และคณะ ได้ดำเนินการพิสูจน์สมมติฐานนี้ โดยใช้แบบจำลองทฤษฎีเกม Stakelberg ของ D.Kaufmann และ S.j. Wei (1999) ผลการทดสอบพบว่า ตัวแปรความล่าช้าที่หน่วยงานธุรกิจต้องเจอในการติดต่อราชการ และตัวแปรจำนวนเงินสินบนที่หน่วยงานธุรกิจจ่าย มีความสัมพันธ์ในทางบวก ซึ่งหมายความว่าการจ่ายเงินสินบนให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อให้ดำเนินการเร็วขึ้นนั้นไม่ใช่เรื่องจริง แต่ยังทำให้ช้าลงอีกด้วย

สาเหตุเพราะเจ้าหน้าที่รัฐพยายามตั้งใจให้เกิดความล่าช้าในดำเนินการ (นานที่สุดเท่าที่คนทำธุรกิจจะรับได้) เพื่อที่จะเรียกสินบนได้สูงสุด ทำให้ผู้ติดต่อต้องเจอกับทั้งความล่าช้าที่เจ้าหน้าที่ตั้งใจ บวกกับความล่าช้าโดยปกติทำให้การดำเนินการยิ่งนานขึ้นไปอีก ท้ายที่สุด สินบนในภาคธุรกิจที่เคยเข้าใจว่า ช่วยทำให้ธุรกิจคล่องตัว อาจเป็นเพียงเงินเสียเปล่าที่ภาคธุรกิจต้องจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต ซึ่งถือเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตและส่งผลกระทบไปถึงผู้บริโภคที่ต้องรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไปด้วย  

งานวิจัยก็มีข้อเสนอแนะว่า หากต้องการแก้ไขปัญหาหรือลดการจ่ายสินบนในภาคธุรกิจ ต้องเพิ่มอำนาจต่อรอง (bargaining power) ให้กับภาคธุรกิจ ซึ่งอาจจะทำได้ด้วยการรวมกลุ่มธุรกิจในรูปแบบองค์กรหรือสมาคม ให้เป็นตัวแทนติดต่อกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพิ่มช่องทางและโอกาสที่เจ้าหน้าที่รัฐทุจริตจะถูกจับได้ เพื่อทำให้ต้นทุนการเรียกร้องสินบนของเจ้าหน้าที่สูงขึ้น และจะนำไปสู่การเพิ่มอำนาจต่อรองของภาคธุรกิจ ในส่วนของภาครัฐเองก็ต้องหานโยบายช่วยลดอุปสรรคในการดำเนินการและพัฒนาธุรกิจ เช่น แก้ไขปัญหาอิทธิพล/มาเฟีย และปัญหาคอร์รัปชันในประเทศ เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น  

#เอกชน #ธุรกิจ #ทำธุรกิจ #เศรษฐกิจ #ทุจริต #โกง #KRAC #KRACCorruption  

——————

คอลัมน์ “KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย” เป็นบทความเล่างานวิจัยไทยด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่หยิบยกหนึ่งในประเด็นของงานวิจัยในมุมมองของผู้ปฏิบัติการ เพื่อปูพื้นฐานความรู้และความเข้าใจเรื่องการคอร์รัปชัน และการต่อต้านคอร์รัปชันในมิติต่าง ๆ ภายใต้บริบทของประเทศไทย

ที่มา

เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ และคณะ. (2546). สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และผลกระทบของการจ่ายสินบนของภาคธุรกิจไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย: กรุงเทพฯ. 

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิดเป็นเหตุ: สำรวจสถานการณ์ทุจริตที่เพิ่มขึ้นในช่วงโรคระบาด

การระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก โดยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าการให้และเรียกรับสินบนในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ? อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

ปัญหาฟอกเงินไทย อะไรคือจุดอ่อน ? ชวนสำรวจแนวทางการป้องกันฟอกเงินด้วยการแก้กฎหมายบางมาตรา และสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความโปร่งใส จากงานวิจัยเรื่อง การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน (2558)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!