KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I องค์กรวิชาชีพบัญชีระดับสากลแนะ เร่งเเก้ไขการติดสินบนใน SMEs ด้วยเทคโนโลยี

จากผลสำรวจสู่งานวิจัยและทางแก้ไขปัญหาการติดสินบนและการทุจริตใน SMEs ณ สหราชอาณาจักร

องค์กรวิชาชีพบัญชีระดับสากล (the Association of Chartered Certified Accountants; ACCA) ได้จัดทำรายงานซึ่งเผยถึงผลกระทบอย่างกว้างขวางทั่วโลกจากการติดสินบนและการทุจริตในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises; SMEs) โดยผลการสำรวจพบว่า 59% ของผู้ประกอบการและที่ปรึกษาทางธุรกิจมักกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดจากการทุจริต ซึ่งเชื่อว่าการต่อต้านการทุจริตจะทำให้เสียโอกาสทางการค้าต่าง ๆ

รายงานดังกล่าวยังมีการเน้นย้ำถึงประโยชน์ของ “นโยบายต่อต้านการติดสินบน (Anti-Bribery Policies)” โดย 77% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก และ 67% ของผู้ตอบแบบสำรวจในสหราชอาณาจักรก็เห็นพ้องต้องกันว่าการมีนโยบายต่อต้านการติดสินบนช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินกิจการของที่ปรึกษาทางธุรกิจหรือผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการเปิดธุรกิจของตนเองและการบริโภคของลูกค้า นอกจากนี้ 68% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลกและในสหราชอาณาจักรยังเชื่อว่าการมีนโยบายต่อต้านการติดสินบนจะเพิ่มโอกาสในการได้ร่วมลงทุนและสนับสนุนจากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และหน่วยงานภาครัฐ

คุณ Jason Piper หัวหน้าฝ่ายภาษีและกฎหมายธุรกิจของ ACCA ยังได้กล่าวถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายในระยะยาวจากการทุจริตว่า “การทุจริตส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก และขัดขวางการลงทุนในธุรกิจขนาดเล็กหลายแห่งที่จะทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองเพียงพอที่จะปฏิเสธเมื่อมีการเรียกร้องสินบน ทำให้ผู้ประกอบการรายต่อ ๆ ไปต้องเลือกระหว่าง ‘การจ่ายสินบน’ กับ ‘การสูญเสียโอกาสทางการค้าหรือธุรกิจ’ ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องเลี้ยงครอบครัวก็ไม่มีทางเลือกมากนัก”

รายงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ธุรกิจและหน่วยงานกำกับดูแลด้านการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน มีข้อมูลและเครื่องมือที่จำเป็นในการกำจัดการทุจริตและคอร์รัปชัน โดยแนะนำว่าหน่วยงานต่าง ๆ ควรนำเทคโนโลยีในการตรวจจับและป้องกันการทุจริต เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Online Platform) ที่ปลอดภัยจากการไม่เปิดเผยตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสที่จะมีการนำเอาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; AI) มาวิเคราะห์ข้อมูลจากการร้องเรียนถึงรูปแบบของลักษณะเสี่ยงต่อการเกิดทุจริตและรับสินบนที่จะมีการเก็บข้อมูลและคาดการณ์เหตุในลักษณะเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Predictive Analytics) และการเก็บข้อมูลทั่วโลก (Global Data) พร้อมกับการใช้ห่วงโซ่หน่วยข้อมูล (Blockchain) เพื่อสร้างบันทึกที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ที่คาดการณ์ว่าจะช่วยลดโอกาสในการทุจริตเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูล

จากรายงานที่สำรวจผลกระทบอย่างรุนแรงของการติดสินบนและการทุจริตต่อ SMEs จากทั่วโลกก็สามารถที่จะนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้ เช่น การนำข้อมูลต่าง ๆ ไปต่อยอดเพื่อปรับปรุงนโยบายต่อต้านการติดสินบนและการทุจริตในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการตรวจจับและป้องกันการทุจริตที่จะเกิดในอนาคต โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมเข้าใจถึงประโยชน์ของการต่อต้านการติดสินบนร่วมกัน

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เกาหลีใต้เอาชนะการทุจริตจากผู้มีอิทธิพลภาคธุรกิจได้อย่างไร ?

การทำธุรกิจนั้นมีการแข่งขันสูง หลายธุรกิจมีแรงกดดันที่ต้องเอาชนะคู่แข่งในตลาด ต้องพยายามลดต้นทุนให้น้อยลงและสร้างรายได้ให้มากขึ้น จนหลายบริษัทเลือกที่จะใช้ “ทางลัด” หรือคอร์รัปชัน เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางต้นทุน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ภาคธุรกิจอาจเสียเงินเปล่าจากการจ่ายสินบน

ในการทำธุรกิจ หลายครั้งผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการต้องยอมจ่ายเงิน “สินบน” ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยให้การทำเรื่องเร็วขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะต้องรอทำเรื่องเป็นเวลานานหลายเดือน ซึ่งหลายคนก็ยอมจ่ายเล็กน้อยเพื่อให้กิจการคล่องขึ้น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้