KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I กรีซ บังคับใช้กฎหมายต้านทุจริต ลดการติดสินบนของนิติบุคคลต่อหน่วยงานรัฐ

“เงินมางานเดิน” วาทกรรมการติดสินบนระหว่างนิติบุคคลและหน่วยงานรัฐ…ที่อาจหายไปจากกรีซ

ไม่นานมานี้ประเทศกรีซ ได้มีการทบทวนเกี่ยวกับการรับผิดทางอาญาสำหรับนิติบุคคลที่ติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งในอดีตไม่มีแนวทางดังกล่าว และอยู่ภายใต้กฎหมายที่มีเพียงฝ่ายบริหารของนิติบุคคลเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดทางอาญา

แต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2024 ที่ผ่านมา กรีซได้มีการบังคับใช้อำนาจตามกฎหมายใหม่ที่ว่าด้วยการรับผิดชอบทางกฎหมายโดยนำมาใช้กับการรับผิดที่เกี่ยวกับการติดสินบนที่เป็นอิสระอย่างชัดเจนซึ่งทุกหน่วยงานของรัฐจะถูกบังคับให้ใช้กฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development; OECD) รวมถึงคำแนะนำในการต่อต้านการติดสินบนและเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตในต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (Anti-Bribery Recommendation and along the lines of the U.S. Foreign Corrupt Practices) และกฎหมายต่อต้านการติดสินบนของสหราชอาณาจักร – พระราชบัญญัติการติดสินบน (UK Anti-Bribery Act) เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานในระดับนานาชาติ และสร้างมาตรฐานใหม่ที่จะดึงดูดการลงทุนและส่งเสริมสถานการณ์ทางธุรกิจ

ภายใต้กฎหมายใหม่ได้มีการกล่าวถึง การติดสินบนพนักงานสาธารณะ นักการเมือง หรือผู้พิพากษา ที่กระทำโดยบุคคลเพื่อผลประโยชน์หรือในนามของ “นิติบุคคล” ที่กระทำการโดยลำพังหรือในฐานะสมาชิกของฝ่ายบริหารของนิติบุคคล ซึ่งจะต้องรับผิดด้วยการจ่ายค่าปรับที่อาจเพิ่มเป็นสองเท่า นอกจากนี้ใบอนุญาตของนิติบุคคลลนั้น ๆ ก็อาจถูกเพิกถอน หรือถูกระงับเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนถึงสองปี หรืออาจถูกบังคับให้หยุดดำเนินการ

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการกระทำผิดเกี่ยวกับการติดสินบนที่กระทำโดยผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้รับมอบหมาย หรือคนกลางของนิติบุคคลที่เกิดขึ้นจากการขาดการกำกับดูแล ซึ่งจะต้องรับผิดต่อค่าปรับที่อาจสูงถึงมูลค่าผลประกอบการประจำปีของนิติบุคคลนั้น ๆ และอาจถูกเพิกถอนหรือระงับใบอนุญาตเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี

ในแง่ของกฎหมายใหม่ยังบังคับให้ผู้ที่ได้รับสินทรัพย์หรือผู้รับสืบทอดนิติบุคคล ต้องรับผิดถึงมูลค่าของนิติบุคคลที่ได้มา ทั้งจากการเข้าซื้อกิจการนิติบุคคลและการปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ส่งผลให้ผู้ลงทุนควรระมัดระวังความเสี่ยงดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมผ่านการควบรวมกิจการหรือธุรกรรมการโอนสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ และควรดำเนินการตรวจสอบสถานะเชิงลึก

ในขณะเดียวกันก็คาดว่านิติบุคคลจะปรับปรุงนโยบายภายในของตนที่จะเสริมสร้างให้เกิดการตรวจสอบทั่วทั้งองค์กรและเครือข่ายธุรกิจของตนเอง เพื่อให้มั่นใจว่ามีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ที่รวมถึงการไม่ติดสินบนต่อเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐใดเลย

การปรับปรุงกฎหมายต่อต้านการทุจริตอย่างการรับสินบนของหน่วยงานรัฐจากนิติบุคคล มีผลต่อการดำเนินธุรกิจและความน่าเชื่อถือของประเทศอื่น ๆ ที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้เป็นแบบอย่างเพื่อสร้างกฎหมายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชันที่เข้มแข็งและสร้างความเป็นกลางและเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจของประชาชนได้

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิดเป็นเหตุ: สำรวจสถานการณ์ทุจริตที่เพิ่มขึ้นในช่วงโรคระบาด

การระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก โดยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าการให้และเรียกรับสินบนในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ? อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้เกมฟอกเงิน แก้โกงงบประมาณ

ปัญหาฟอกเงินไทย อะไรคือจุดอ่อน ? ชวนสำรวจแนวทางการป้องกันฟอกเงินด้วยการแก้กฎหมายบางมาตรา และสร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดความโปร่งใส จากงานวิจัยเรื่อง การต่อต้านการคอร์รัปชัน: มาตรการการควบคุมการเคลื่อนไหวของเงิน (2558)

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!