KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I คริปโทเคอร์เรนซี ช่องทางเสี่ยงคอร์รัปชัน

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันเกาหลีใต้เร่งตรวจสอบคริปโทเคอร์เรนซีนักการเมือง

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ACRC (Anti-corruption & Civil Rights Commission) หรือคณะกรรมการต่อต้านการทุจริต และสิทธิพลเมืองเกาหลีใต้ได้แถลงการณ์ถึงความตั้งใจที่จะตรวจสอบทรัพย์สินดิจิทัลรูปแบบ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ของนักการเมือง รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายทุกคน

โดยเหตุผลที่ ACRC หันมาสนใจทรัพย์สินประเภทคริปโทเคอร์เรนซีเป็นผลมาจากข่าวฉาวของ Kim Nam-kuk อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎรพรรค Democratic Party of Korea (DPK) ที่พบว่ามีทรัพย์สินคริปโทเคอร์เรนซีที่ถือครองไว้มีมูลค่ากว่า 6,000 ล้านวอน หรือประมาณ 160 ล้านบาท ซึ่งทรัพย์สินจำนวนนี้ไม่มีที่มาที่ไปที่ชัดเจน หรืออาจเข้าข่ายที่เรียกว่าร่ำรวยผิดปกติ โดยคริปโทเคอร์เรนซีเป็นทรัพย์สินดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่พึ่งเริ่มเป็นที่นิยมไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทำให้ยังไม่มีการจัดการที่ครอบคลุมและอาจทำให้เกิดช่องว่างในการฟอกเงินหรือการพยายามปิดบังทรัพย์สินได้

Jeon Hyun-heui ประธานคณะกรรมการ ACRC ได้ประกาศว่า ACRC มีความมุ่งมั่นที่จะสอบสวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนอื่น ๆ ด้วยมาตรการเชิงรุก แต่ถึงอย่างนั้นการเปิดข้อมูลทรัพย์สินก็ต้องได้รับความร่วมมือจากนักการเมืองที่เกี่ยวข้องด้วย อีกทั้งการเข้าถึงทรัพย์สินประเภทคริปโทเคอร์เรนซียังมีระบบปกปิดข้อมูลส่วนตัวค่อนข้างสูง ทำให้การเปิดข้อมูลในส่วนนี้เป็นเรื่องยาก

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเกาหลีใต้ได้มีการผ่านกฎหมาย “Kim Nam-kuk Prevention Act” ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้มีการเปิดข้อมูลทรัพย์สินดิจิทัลประเภทคริปโทเคอร์เรนซีของนักการเมืองและข้าราชการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย และในส่วนของนาย Kim Nam-kuk ปัจจุบันได้ถูกขับออกจากตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรแล้ว และการดำเนินคดีตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการสืบสวนของ ACRC ที่ยังคงต้องติดตามกันต่อไป

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่องการตรวจสอบทรัพย์สินเจ้าหน้าที่รัฐ : บทเรียนจาก 3 ชาติ

ความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน KRAC จึงอยากชวนมาดูกลไกการตรวจสอบทรัพย์สินของสหรัฐฯ จอร์เจีย และฮ่องกง พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการปรับใช้ในบริบทของประเทศไทย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | How to โปร่งใส : แก้ปัญหาทุจริตเชิงนโยบายสไตล์ญี่ปุ่น

“ทำลายจุดอ่อนเสริมจุดแข็ง” KRAC ชวนดูวิธีการปฏิรูประบบการบริหารราชการและการกำหนดนโยบาย รวมถึงการดำเนินการทางกฎหมายกรณีทุจริตเชิงนโยบายของประเทศญี่ปุ่น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 4 ชาติ 4 แนวทาง หยุดทุจริตเชิงนโยบาย

เคยได้ยินชื่อของ “คดีทุจริตคลองด่าน” กันไหม ? นี่คือหนึ่งในคดีทุจริตครั้งใหญ่ของประเทศไทยที่สร้างความเสียหายเป็นเงินกว่า 1,900 ล้านบาท ซึ่งการทุจริตที่ทำกันอย่างเป็นระบบจากคนหลายฝ่าย แบบนี้เราเรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบาย

You might also like...

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I หน่วยงานต้านโกงฮังการีตั้งเป้าหมาย เริ่มพัฒนา AI ต่อสู้คอร์รัปชันในอนาคต

ฮังการีรายงานผลการทำงานปีที่ผ่านมาพร้อมประกาศเริ่มพัฒนา AI แก้ปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อเปิดทางตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเรียลไทม์

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริตอาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.